คนไทยนอนไม่หลับ ห่วงเล่นมือถือ ดูซีรี่ย์ เสี่ยงสารพัดโรค
คนไทยนอนไม่หลับห่วงเล่นมือถือ ดูซีรี่ย์เสี่ยงสารพัดโรค
เมื่อวันที่ 19 ก.พ.ที่รพ.จุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย นพ.วิญญู ชะนะกุล รองผอ.สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา กล่าวในงานแถลงข่าวกิจกรรมวันนอนหลับโลกว่า การนอนเป็น 1 ใน 3 ปัจจัยสำคัญต่อสุขภาพที่ดี จากข้อมูลขององค์การอนามัยโลกได้มีคำว่าควรนอนหลับให้เพียงพอวันละ 7 - 9 ชั่วโมง แต่จากข้อมูลพบว่าประชากรโลกร้อยละ 45 มีอาการผิดปกติอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยร้อยละ 35 เป็นปัญหาการนอนไม่หลับ อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันพบว่านอกจากการนอนไม่หลับแล้วยังมีปัญหาการไม่ยอมหลับไม่ยอมนอนเนื่องจากการใช้ชีวิตอยู่กับอินเตอร์เน็ต ดูวิดีโอต่างๆ ดูการแข่งขันกีฬาการดูซีรี่ย์ ทั้งนี้การนอนไม่เพียงพอจะเกิดผลกระทบต่อร่างกายในระยะสั้นจะทำให้ไม่มีสมาธิ หงุดหงิดง่าย มีปัญหาต่อการเรียนรู้ในวันถัดไป ซึ่งพบว่าคนที่นอนหลับไม่เพียงพอมีปัญหาขาดงานทำงานไม่มีประสิทธิภาพ ในระยะยาวมีความเกี่ยวข้องกับปัญหาสุขภาพ เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง อาจส่งผลให้เกิดปัญหาซึมเศร้า ปัญหาโรคไบโพล่าโดยเฉพาะผู้ที่เป็นผู้ป่วยอยู่เดิมอาจจะทำให้อาการกำเริบได้ รวมถึงทำให้อ้วน เป็นต้น
ดังนั้นขอให้ประชาชนให้ความสำคัญกับการนอนหลับอย่างเพียงพอและมีคุณภาพรักษาจังหวะชีวิตให้ดีจังหวะการนอนการตื่น บางคน นอนเวลาเที่ยงคืนตื่นตอนเที่ยงก็ขอให้ค่อยๆ ปรับ โดยคำแนะนำ คืองดกิจกรรมที่ทำให้ร่างกายตื่นตัว 4 ชั่วโมงก่อนการเข้านอน เช่น งดดื่มกาแฟ งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ งดการเล่นโทรศัพท์มือถือ อินเตอร์เน็ต และในห้องนอนควรจัดให้เป็นพื้นที่ที่เหมาะสมสำหรับการนอนโดยละเว้นจากอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้นนอกจากนี้ยังมีคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญว่าขอให้ยกเลิกการนับแกะเพราะการนับแกะยิ่งทำให้เกิดความวิตกกังวลส่งผลกระทบให้นอนไม่หลับตามมา
ศ.พญ.อรุณวรรณ พฤทธิ์พันธุ์ นายกสมาคมโรคจากการนอนหลับแห่งประเทศไทย กล่าวว่า โรคนอนไม่หลับ ได้ 1 ใน 3 ของประชากรยิ่งสูงวัยยิ่งพบมากขึ้นเรื่อยๆ ทั้งนี้วิธีสังเกตถ้าหัวถึงหมอนเกินครึ่งชั่วโมงแล้วยังไม่หลับติดต่อกันเป็นระยะเวลา 1-2 สัปดาห์ควรมาพบแพทย์ หรืออีกกรณีหนึ่งคือการนอนกรนซึ่งนำไปสู่การที่มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับซึ่งพบได้ 1 ใน 10 ของประชากรชาย ส่วนประชากรหญิงพบได้ประมาณครึ่งหนึ่งในขณะที่วัยเด็กพบได้ร้อยละ 1-2 ซึ่งลักษณะนี้จัดว่าเป็นอันตราย ขอให้ตระหนักและหลับให้เพียงพอ
รศ.นพ.ณัฐพงษ์ เจียมจริยธรรม หัวหน้าศูนย์นิทราเวช รพ.จุฬาฯ กล่าวว่า ในแต่ละช่วงเวลาร่างกายจะมีการหลั่งฮอร์โมนที่แตกต่างกัน เช่นในวัยเด็กครูจะให้เด็กนอนช่วงเวลาบ่ายบ่ายก็เพราะร่างกายของเด็กขณะนั้นจะมีการหลั่งฮอร์โมนที่ช่วยในการเจริญเติบโตได้ดี อย่างไรก็ตามวงจรการนอน หรือนาฬิกาชีวิตของคนแต่ละที่แตกต่างกัน คนที่ทำงานเป็นกะและเปลี่ยนกะบ่อยๆ เช่นทุกๆ 3 วันจะมีปัญหาค่อนข้างมาก วงจรชีวิต นาฬิกาชีวิตไม่คงที่ มีโรคที่เกิดจากการนอนเยอะ เช่นเคยมีการทำการศึกษาที่รพ.จุฬาฯ ในกลุ่มพยาบาลที่เปลี่ยนกะเข้าเวรบ่อยๆ มีปัญหาโรคลำไส้แปรปรวน ท้องเสีย และมีการศึกษาในประเทศสแกนดิเนเวีย พบว่าเพิ่มการเกิดการเป็นเนื้องอกบางชนิดขึ้นได้
อย่างไรก็ตามสำหรับคนที่ทำงานเป็นกะแต่ไม่ได้เปลี่ยนกะบ่อยๆ ใช้เวลาเป็นเดือนเดือนจะไม่ค่อยมีปัญหามากนัก ดังนั้นอยากให้ทุกคนเห็นความสำคัญนาฬิกาชีวิต ตามที่ได้กำหนดสโลแกนวันนอนหลับโลกปี 2561 "หลับเป็นเวลา ตามนาฬิกาชีวิต พิชิตโรคร้าย ร่างกายแข็งแรง" ที่รพ.จุฬาฯจะจัดขึ้นในวันที่ 3 มี.ค.ที่สวนลุมพินี และให้ความรู้เรื่องการนอนแต่ประชาชนต่อเนื่องตั้งแต่วันที่ 5-9 มี.ค. ที่โถงชั้นจี อาคารภปร
ที่มา https://pr.moph.go.th
ป้ายกำกับ : นอนไม่หลับ สุขภาพ เบาหวาน ความดัน
หมวดหมู่ ขั้นตอนการใช้งาน ข่าวสาร ประชาสัมพันธ์ ท่องเที่ยว บ้านและสวน มาตรฐาน ร้านอาหาร รีวิวร้านอาหาร วัตถุดิบประกอบอาหาร สุขภาพ อาหาร เกษตร เครื่องดื่ม โปรแกรมร้านอาหาร โปรโมชั่น ข่าวสาร ประชาสัมพันธ์ทั้งหมด
โพสโดย : M Food
อ่านวิธีลงบทความของคุณได้คลิกที่นี่
บทความสุขภาพที่คุณอาจสนใจ
อาหารมีวิตามินดี ช่วยสร้างภูมิคุ้มกัน ต้านโควิด
01/09/2021 10:07:36
เอมิสมาร์คเต้าหู้
03/07/2021 08:02:54
เอมิส มาร์คเต้าหู้กลูต้า
16/06/2021 10:26:49
กินทุเรียนอย่างไรให้เหมาะสมเมื่อทุเรียนให้พลังงานสูง ย้ำควรกินไม่เกิน 2 เม็ดต่อวัน
30/05/2021 17:35:04
ร้านอาหารที่คุณอาจสนใจ
Chicken Finn
ข้าวมันไก่ ข้าวหมูกรอบ ข้าวหมูแดง Rice steamed with chicken soup, Crispy Pork Rice, Red Beef Rice 海南鸡饭、香脆肉丝饭、红牛肉饭