การบริหารจัดการค่าใช้จ่ายในร้านอาหาร
การเปิดร้านอาหารที่ดีต้องมีการบริหารจัดการภายในที่ดีไปด้วย เพื่อให้ตอบสนองความต้องการของลูกค้าหรือผู้ที่มาใช้บริการให้ดีที่สุด สุดท้ายแล้วทุกอย่างก็จะนำไปสู่ผลกำไรที่ต้องการ และไม่ขาดทุนในที่สุด
การดำเนินงานของร้านอาหารมีดังนี้
- การจัดการธุรกิจของร้านอาหาร ได้แก่ การวางแผนรายการอาหาร การจัดซื้อ การตรวจรับวัตถุดิบ การเก็บรักษา และการเบิกจ่ายให้เป็นระบบ ด้วยระบบของ M Food Service
- การปรุงอาหาร การเตรียมอาหาร และการนำเสนอ
- การบริการอาหารและเครื่องดื่ม ได้แก่ การเตรียมการ การเสิร์ฟอาหาารและเครื่องดื่ม การแก้ปัญหา เป็นต้น
- การปรับปรุงพัฒนาร้านอาหาร ได้แก่ การจัดการเรื่องการตลาด ระบบสุขาภิบาล ความสะอาด ปลอดภัย การบริหารจัดการพนักงานในร้านด้วยระบบของ M Food Service
การจัดซื้อ
หมายถึง การหาสินค้าหรือวัตถุดิบ รวมไปถึงอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ต่าง ๆ เพื่อให้เราสามารถบริการได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีคุณภาพและช่วยลดต้นทุน เพื่อเพิ่มผลกำไร
ทำไม่ถึงต้องมีกระบวนการจัดซื้อ
1. เพื่อให้ได้สินค้าหรือวัตถุดิบและอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ที่ตรงกับความต้องการของร้านอาหารได้มากที่สุด
2. เพื่อให้ได้ของที่ดีมีคุณภาพ ราคาที่เหมาะสมหรือราคาต่ำมากที่สุด เพราะจะทำให้มีผลต่อต้นทุนของร้านอาหาร
3. เพื่อให้สามารถสั่งซื้อได้ในช่วงเวลาที่เหมาะสม และสอดคล้องกับการนำไปใช้ประโยชน์ในการให้บริการของร้านอาหาร
ความสำคัญของการจัดซื้อ
- ช่วยเพิ่มความสามารถและคุณภาพในการให้บริการมากขึ้น สามารถให้บริการอาหารและเครื่องดื่ได้ตามวันและเวลาที่ลูกค้าต้องการได้
- เพราะร้านอาหารมีวัตถุดิบที่ดีมีคุณภาพ ทำให้สามารถทำอาหารออกมาได้รสชาติที่สดใหม่และอร่อยขึ้น หากของไม่สดอาจจะทำให้ได้แต่ลูกค้าจร ร้านไม่มีลูกค้าประจำ
- ทำให้สามารถกำหนดต้นทุนของการดำเนินการในร้านอาหารได้ โดยการจัดซื้อวัตถุดิบที่มีคุณภาพและได้ในราคาที่สมเหตุสมผลต่อการสร้างผลกำไร
ความรู้ความเข้าใจในธุรกิจของร้านอาหารเกี่ยวกับการจัดซื้อวัตถุดิบ
- ต้องมีความรู้เกี่ยวกับอาหารนั้น ๆ โดยเฉพาะ และเป็นวัตถุดิบหลักของร้าน เช่น อาหารสดต่าง ๆ ที่เอาไปทำอะไรได้บ้าง
- อัตราการหมุนเวียนเข้าออกร้านอาหารของลูกค้า วัน เวลา ที่ลูกค้าเข้ามาใช้บริการ หากมีการใช้งานโปรแกรมของ M Food จะยิ่งสามารถทำให้รู้เวลาที่แน่ชัดและแน่นอนอีกด้วย เพื่อให้สามารถวางแผนจัดซื้อวัตถุดิบให้เหมาะสมแก่ความต้องการในแต่ละวันได้ และทำให้ปัญหาของเหลือต่อวันน้อยลง ซึ่งตอนนี้ระบบ M Food กำลังพัฒนาระบบพยากรณ์ยอดขาย ยอดที่ต้องสั่งวัตถุดิบ เพื่อให้สามารถลดต้นทุนในการผลิตอาหารในแต่ละวันได้น้อยลง สามารถเพิ่มผลกำไรให้กับร้านอาหารได้
- ความหลากหลายของรายการอาหาร (เมนูอาหาร) จะเป็นตัวช่วยให้ลูกค้ามีโอกาสเลือกอาหารที่ถูกใจมากขึ้น อีกทั้งยังเพิ่มความหลากหลายให้กับลูกค้าที่เข้ามาใช้บริการอีกด้วย ทำให้เราสามารถวางแผนการดำเนินการของธุรกิจร้านอาหารที่ได้เตรียมพร้อมล่วงหน้าได้เป็นอย่างดี สามารถเพิ่มยอดขายให้ได้มากยิ่งขึ้นอีกด้วย
- ต้นทุนของร้านอาหารเป็นต้นทุนคงที่สูงกว่าต้นทุนผันแปร ยกตัวอย่าง เช่น ค่าเช่าสถานที่ เงินเดือนค่าจ้างพนักงาน ค่าไฟ ค่าแก๊ส และอื่น ๆ ซึ่งไม่ว่าในแต่ละวันร้านอาหารของเราจะมีลูกค้าเข้ามาใช้บริการหรือไม่และมากน้อยเพียงใดก็ตาม ร้านอาหารของเราก็จำเป็นจะต้องเสียค่าใช้จ่ายเท่าเดิมอยู่ดี ในส่วนของต้นทุนของอาหารนั้นจะเป็นต้นทุนผันแปร สามารถปรับเปลี่ยนได้ตามจำนวนสถิติของลูกค้าที่เข้ามาใช้บริการในแต่ละวัน ซึ่งแตกต่างจากธุรกิจอื่น ๆ ที่มีต้นทุนผันแปรสูงกว่าต้นทุนคงที่ ทำให้การควบคุมต้นทุนทำได้ง่ายกว่า
- วัฎจักรหรือช่วงเวลาของการให้บริการลูกค้านั้นเป็นช่วงเวลาที่สั้น ตั้งแต่การจัดซื้อไปจนถึงการผลิตอาหารและให้บริการอาหาร อาจจะใช้เวลาเพียง 1-2 วัน หรือ 1 สัปดาห์ จากนั้นก็จะต้องรีบไปจัดซื้อวัตถุดิบหรืออุปกรณ์หลักมาใหม่แล้ว ทำให้มีระยะเวลาในการวางแผนสั้นกว่าการดำเนินงานของธุรกิจอื่น ๆ ธุรกิจอื่นอาจจะนำสินค้าไปเก็บไว้ในสต็อกสินค้าหรือคลังสินค้าก็ได้ แต่กระบวนการผลิตอาหารของร้านอาหารนั้นต้องนำไปบริการให้ลูกค้าทันทีที่วัตถุดิบมาถึง เพื่อคงความสดใหม่อยู่เสมอ ดังนั้น การแก้ไขข้อผิดพลาดอาจจะทำได้ยาก แต่หากมีระบบของ M Food คอยช่วยเหลือปัญหาเหล่านี้จะค่อย ๆ หมดไป ระบบจะคอยช่วยป้องกันปัญหา และช่วยให้ร้านอาหารรับประกันคุณภาพได้ดีขึ้น
- ประเภทของวัตถุดิบหรืออุปรกณ์ที่จะจัดซื้อในร้านอาหารทั้งที่บริโภคได้และบริโภคไม่ได้ แต่จำเป็นต้องใช้ในการผลิตอาหารและให้บริการ ตลอดจนสินค้าที่นำมาใช้ในการส่งเสริมการขายของร้านอาหาร ดังนั้น เราควรทราบรายการเคลื่อนไวเหล่านี้ ได้แก่ การจัดระดับหรือเกรดของสินค้า การบรรจุภัณฑ์ ความเคลื่อนไหวของราคา ช่วงเวลาและฤดูกาลของอาหาร เช่น อาหารสด อาหารแห้ง เครื่องปรุงรส วัสดุสิ้นเปลือง อุปกรณ์เครื่องใช้ต่าง ๆ ในร้านและห้องครัว การกำหนดปริมาณในการสั่งซื้อ อาจจะมีการใช้ระบบของ M Food เพื่อควบคุมสต็อกวัตถุดิบเหล่านี้เพื่อให้สามารถกำหนดปริมาณในการสั่งซื้อได้
- ความรู้ในเรื่องของระบบ ขั้นตอนและวิธีการจัดซื้อ การนำโปรแกรมร้านอาหารจาก M Food มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพิ่มความชำนาญในการใช้งานจะทำให้การทำงานได้รวดเร็วยิ่งขึ้น ควรศึกษาขั้นตอนอย่างชัดเจนว่าต้องทำอย่างไรบ้าง สามารถตรวจสอบข้อมูลและควบคุมได้ง่าย สอดคล้องกับแผนการดำเนินงาน สามารถจัดหาวัตถุดิบที่มีคุณภาพเหมาะสมและได้ราคาตามความต้องการ จากนั้นนำเข้าระบบสต็อกวัตถุดิบของ M Food ให้เรียบร้อย เพื่อการคำนวนรายจ่ายในครั้งถัดไป
ระบบการจัดซื้อ
ในร้านอาหารของเราอาจจะเลือกใช้ระบบการจัดซื้อตามความเหมาะสมหรือตามขนาดของร้านอาหารดังนี้
- ระบบการสั่งซื้อจากส่วนกลาง หมายถึง การจัดซื้อโดยแผนกจัดซื้อโดยตรง ซึ่งได้รับหน้าที่ในการจัดซื้อโดยเฉพาะ และทำการจัดซื้อให้ตรงตามความต้องการของแต่ละฝ่าย โดยแต่ละฝ่ายจะต้องแจ้งให้ส่วนกลางทราบว่าต้องการอะไรบ้าง หรือส่วนกลางสามารถตรวจสอบสต็อกคงเหลือผ่านระบบของ M Food แล้วนำมาพิจารณาสั่งซื้อได้เลย ข้อดีของการจัดซื้อโดยส่วนกลาง ได้แก่ ร้านอาหารสามารถควบคุมการสั่งซื้อได้ดี มีผู้รับผิดชอบโดยตรง สามารถติดตามผลการสั่งซื้อและแก้ไขปัญหาต่าง ๆ เกี่ยวกับการสั่งซื้อได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ ผู้ที่ได้รับหน้ามีมีความรู้ความเชี่ยวชาญในการจัดซื้อโดยเฉพาะ ไม้ต้องให้พนักงานที่ไม่ชำนาญมาทำในส่วนนี้ ทำให้การจัดซื้อมความราบรื่น มีการจัดรวบรวมซื้อในคราวเดียวกันทำให้มีปริมาณในการซื้อมากและสามารถต่อรองราคาได้ ช่วยให้ประหยัดเวลาและแรงงานในการจัดซื้อสามารถกำหนดช่วงเวลาในการจัดซื้อได้อย่างถูกต้องแม่นยำ
- ระบบการสั่งซื้อโดยอิสระ หมายถึง การจัดซื้อของแต่ละฝ่ายแยกย่อยกระจายการซื้อกันเองอย่างเป็นอิสระ เช่น ห้องครัวสั่งซื้อวัตถุดิบที่เหมาะสมเมื่อมีงานเร่งดวน มีแหล่งขายเฉพาะหรือมีน้อย แต่วิธีการนี้อาจจะมีปัญหาเรื่องการควบคุมการรั่วไหลได้
- ระบบการสั่งซื้อแบบรวมกลุ่ม หมายถึง การจัดซื้อโดยหลาย ๆ ฝ่ายซึ่งอาจจะเกี่ยวข้องหรือไม่เกี่ยวข้องกันก็ได้ รวบรวมกันจัดซื้อร่วมกัน เพื่อเพิ่มปริมาณในการจัดซื้อให้ได้มากขึ้น ทำให้มีอำนาจในการต่อรองราคา เพื่อให้สามารถลดค่าใช้จ่ายได้ ได้วัตถุดิบได้ตรงตามความต้องการ และกระจายไปสู่ผู้บริโภคได้อย่างทั่วถึง แต่อย่างไรก็ตามการจัดซื้อแบบนี้จะทำให้ธุรกิจของแต่ละแห่งอาจรู้ข้อมูลของธุรกิจของคู่แข่งได้
วิธีการจัดซื้อ
แบ่งออกดังนี้
1. การจัดซื้อแบบไม่เป็นทางการ เมื่อมอบหมายให้พนักงานออกไปซื้อของที่ตลาด จะได้อาหารสดที่มีคุณภาพและราคาตามความต้องการ เพราะคนนั้นมักจะรู้ราคาในท้องตลาดได้เป็นอย่างดี รู้จักใช้ของที่มีอยู่ตามท้องถิ่นในกรณีที่ขาดแคลนอาหารสดบางอย่างได้ รู้ความเคลื่อนไหวของสินค้าในตลาดได้เป็นอย่างดี การจัดซื้อแบบนี้เหมาะสำหรับร้านอหาารเล็ก ๆ เป็นธุรกิจครอบครัว บางครั้งเจ้าของร้านหรือคนในครอบครัวต้องออกไปจ่ายตลาดทำให้เกิดปัญหาในการบริการงานส่วนอื่น ในบางครั้งร้านอาหารต้องแก้ปัญหาด้วยการให้พ่อค้าหรือร้านค้าที่ไว้ใจและตกลงกันไว้ให้นำสินค้าที่ต้องการเหล่านั้นมาส่ง ก็จะช่วยประหยัดเวลาได้อีก
ข้อดีคือ สามารถจัดซื้อได้ทุกเวลาตามความสะดวกและความจำเป็นของร้านอาหาร ได้ของที่สดส่งตรงจากตลาดตามปริมาณที่ต้องการและในราคาที่เหมาะสม
ข้อเสียคือ จำเป็นจะต้องมีคนที่มีความรู้ในการเลือกซื้อวัตถุดิบหรือของเหล่านั้นเป็นอย่างดี อาจจะเปิดโอกาสให้มีการทุจริตในการจัดซื้อกันเกิดขึ้น และทางร้านอาหารควรมีเงินสดสำรองไว้อยู่เสมอ
2. การจัดซื้อแบบเป็นทางการ การจัดซื้อโดยวิธีนี้จะมีฝ่ายจัดซื้อโดยตรงและต้องมีการกำหนดรายละเอียดเกียวกับของที่จะซื้อและปริมาณที่ต้องการ อาจจะมีการทำใบเสนอราคาแล้วส่งให้พ่อค้าหรือผู้จำหน่ายเพื่อเสนอราคา แบบนี้ถือว่าเป็นการจัดซื้อแบบประกวดราคา ต้องมีการจัดทำล่วงหน้า เพื่อให้ผู้จำหน่ายมีเวลาในการจัดเตรียมการเสนอราคาเพื่อประมูล และเมื่อชนะการประมูลแล้วจะต้องมีเวลาในการจัดหาสินค้ามาให้ได้ในเวลาที่กำหนด ร้านอาหารจึงควรมีการวางแผนล่วงหน้าไว้แล้วว่าจะซื้อสินค้าชนิดไหน อะไร เท่าไหร่ ปริมาณไหน และคำนวณราคาล่วงหน้าไว้แล้วว่าใครเป็นเท่าใด นอกจากนี้แล้วทางฝ่ายจัดซื้อควรกำหนดรายละเอียดเป็นเงื่อนไขในการยอมรับการประมูล เพิ่มเติมจากรายละเอียดเกี่ยวกับคุณภาพของสินค้า เช่น เงื่อนไขการชำระเงิน วิธีการส่งของ วันที่และเวลาที่ต้องได้รับ สัดส่วนของการประมูล ส่วนลด กำหนดการ ฯลฯ ในการเลือกผู้ชนะประมูลมักเลือกผู้ที่กำหนดราคาได้ต่ำสุดและสามารถปฏิบัติตามเงือนไขที่ระบุไว้ได้
ในอนาคตระบบ M Food จะคอยเป็นระบบกลางในการให้ผู้จำหน่ายวัตถุดิบสามารถลงขายของให้กับร้านอาหารและกำหนดราคาสำหรับร้านอาหารได้ด้วย พร้อมกับระบบประกวดราคา เพื่อให้สามารถตรวจสอบสินค้าจากต้นทางไปจนถึงปลายทางได้สามารถรู้วันที่สั่งและวันที่นำออกจำหน่ายให้ลูกค้าจากระบบ M Food ได้ตลอดเวลา
ข้อดีคือ สามารถควบคุมต้นทุนได้ดี เพราะมีการกำหนดราคาล่วงหน้าไว้แล้ว และร้านอาหารสามารถควบคุมการผลิตอาหารและเครื่องดื่มได้
ข้อเสียคือ ร้านอาหารต้องสั่งซื้อของเป็นจำนวนมาก ๆ และสม่ำเสมอ ในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงการสั่งซื้อสินค้าบางอย่างจะทำไม่ได้เพราะได้มีการประกวดราคาล่วงหน้าไว้แล้ว และถ้าหากตลาดมีการเปลี่ยนแปลง เช่น บางอย่างขาดตลาดทำให้ราคาเปลี่ยนไป อาจทำให้เกิดปํยหาแก่พ่อค้าที่ไม่สามารถจัดหาสินค้าได้ทันตามความต้องการ
3. การทำสัญญาจัดซื้อล่วงหน้า หมายถึง การทำข้อตกลงในการซื้อสินค้าในราคาที่แน่นอน โดยผู้ขายจะจัดส่งสินค้าให้ในภายหลัง การจัดซื้อแบบนี้เหมาะสำหรับการสั่งซื้อสินค้าบางชนิดที่จำเป็นต้องใช้เป็นประจำทุกวันหรือทุกสัปดาห์ เช่น ของหวาน ไอศครัม ขนมต่าง ๆ น้ำแข็ง ฯลฯ ฝ่ายจัดซื้อจะต้องพิจารณาทำสัญญาหรือข้อตกลงกับผู้ขายที่เชื่อถือได้ และมั่นใจว่าจะส่งสินค้าให้ได้ตามความตองการในแต่ละวันและจัดส่งเป็นประจำ
วัตถุประสงค์หลักในการจัดซื้อ คือ
- ได้วัตถุดิบที่เหมาะสม
- มีคุณภาพที่เหมาะสม
- ราคาต้นทุนที่เหมาะสม
เพื่อให้การจัดซื้อของร้านอาหารเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ฝ่ายจัดซื้อควรมีข้อมูลเกี่ยวกับการจัดซื้อวัตถุดิบดังนี้
1. ประเภทของอาหารที่ต้องจัดซื้อ ได้แก่
1.1 อาหารที่เสื่มคุณภาพง่าย เช่น อาหารสดทุกชนิด เนื้อสัตว์ต่าง ๆ อาหารทะเล ผัก ผลไม้ นม เนย ไข่ เป็นต้น ถึงแม้ว่าบางอย่างสามาถแช่แข็งได้ แต่ก็อาจจะคงความสดไว้ไม่ได้นานนัก
1.2 อาหารแปรรูป เช่น อาหารสำเร็จรูปหรือกึ่งสำเร็จรูป สามารถเก็บรักษาไว้ได้นาน เช่น ปลาเค็ม ปลากระป๋อง ผักกาดดอง หรืออาหารกระป๋องชนิดอื่น ๆ เป็นต้น
2. กรรมวิธีเกี่ยวกับการแปรรูปอาหาร ควรมีความรู้เกี่ยวกับการแปรรูปอาหารที่นิยมใช้ในเชิงพาณิชย์ เพื่อที่จะได้ทราบคุณสมบัติของอาหารแต่ละชนิดด้วยและเลือกซื้อได้อย่างเหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นการตากแห้ง การหมัก การหมักเกลือ การรมควัน การใช้น้ำตาล เครื่องเทศ และสมุนไพรต่าง ๆ การบรรจุประป๋อง การแช่แข็ง และการฆ่าเชื้อด้วยรังสี
3. การจัดมาตรฐานอาหาร หมายถึง การเลือกซื้ออาหารที่เสียง่ายและอาหารแปรรูปบางชนิด โดยเฉพาะเนื้อสัตว์ เพื่อนำมาพิจารณารูปแบบของอาหารและเวลาที่ต้องใช้ในการปรุง เช่น ลักษณะของเนื้อวัวที่ดีต้องมีเส้นไขมันแทรก หรือเรียกว่าลายหินอ่อน เส้นใยละเอียดแน่น (ลายหินอ่อนอาจมีราคาสูง) เนื้อสีแงดสดใส เนื้อวัวอาจจะมีหลากหลายเกรด ขึ้นอยู่กับร้านอาหารที่ต้องการสร้างมาตรฐานให้ร้านอยู่ในระดับไหน เช่น เนื้อโคขุนของไทยเรา เนื้อออสเตรีย เนื้อโกเบญี่ปุ่น เป็นต้น
4. วิธีการทดสอบคุณภาพของอาหาร อาหารบางชนิดจำเป็นจะต้องได้รับการทดสอบโดยวิธีที่ถูกต้อง เช่น นมสด และนมที่ได้จากการแปรสภาพมาแล้ว ได้แก่ นมระเหย นมข้นหวาน นมผง และนมหมัก
5. กำหนดปริมาณในการสั่งซื้ออาหารสด ซึ่งข้อมูลที่ฝ่ายจัดซื้อควรทราบได้แก่ ปริมาณการขายในแต่ละวัน ปริมาณการเสิร์ฟ ส่วนของวัตถุดิบที่ต้องเสียไปในระหว่างการเตรียมปรุงอาหาร หากใช้ระบบของ M Food แล้วทำการผู้สูตรการทำอาหารไว้ในแต่ละเมนูจะทำให้ระบบของเราสามารถตัดสต็อกวัตถุดิบและแสดงรายงานปริมาณการใช้ในแต่ละวันได้
6. ภาวะของตรลาดและฤดูกาล จะทำให้ทราบแหล่งที่จะต้องจัดซื้อและทดแทนบางอย่างได้ ทำให้การจัดซื้อเป็นไปอย่างราบรื่น
สรุปขั้นตอนในการจัดซื้อ
- การสำรวจความต้องการ
- การเสนอรายการจัดซื้อ
- การตรวจสอบการเสนอรายการจัดซื้อ
- การจัดทำใบสั่งซื้อ
- การสั่งซื้อ
- การตรวจรับของ
- การชำระเงิน
การตรวจรับของ
หมายถึง การตรวจสอบเพื่อดูว่ารายการที่เข้ามานั้นมีคุณภาพและได้ปริมาณตรงตามที่สั่งไว้หรือไม่ และต้องดำเนินการอย่างรวดเร็วเพื่อจัดเก็บสินค้าเหล่านั้นให้อยู่ในสถภาพที่เหมาะสม ผู้ที่ทำหน้าที่ตรวจรับควรเป็นผู้ที่มีประสบการณ์และความรู้ในเรื่องของเหล่านี้ได้เป็นอย่างดี เช่น ผู้จัดการร้าน พ่อครัวหรือแม่ครัว ควรตรวจสอบให้ครบถ้วนรวมทั้งในปริมาณ คุณภาพ และจำนวนเงินที่ต้องจ่ายออกไปตามจำนวนของที่รับเข้า
วิธีตรวจรับ มีดังนี้
- การตรวจรับเชิงปริมาณ ให้ดูจากบิลหรือใบสั่งของกับใบสั่งซื้อว่าตรงกันหรือไม่ เช่น นับจำนวน กี่มัด ชิ้น ห่อ กี่กิโลกรัม กี่ลิตร แกลลอน เป็นต้น นอกจากนี้แล้วควรดูรายละเอียดอื่น ๆ ด้วยที่อาจจะส่งผลเสียหายต่อสินค้าและน้ำหนักที่อาจจะสูยเสียไปด้วย เช่น ดูป้าย ฉลากอาหาร น้ำหนักอาหารที่รับ เป็นต้น
- การตรวจรับเชิงคุณภาพ การตรวจสอบคุณภาพอาจเป็นเรื่องยากต้องอาศัยผู้ที่มีประสบการณ์และมีความชำนาญพอสมควรที่จะมีความรู้เพียงพอที่จะบอกได้ว่าสินค้าชนิดนี้มีคุณภาพอย่างไร โดยส่วนใหญ่แล้วการตรวจสอบจะใช้วิธีการมองดูด้วยตา หรือการหยิบจับสัมผัส การชิม ดมกลิ่น เช่น ดูว่าปลาสดไหมก็ให้ดูที่ตาว่ายังใสอยู่หรือไม่ เป็นต้น
- การตรวจรับในเรื่องของราคา ตรวจสอบราคาทีละรายการที่จะรับเข้า ส่งคืน และทังหมดที่จะต้องชำระให้แก่พ่อค้าที่มาส่ง อาจจะต้องมีการเซ็นรับ การเซ็นรับที่ดีควรให้ลงเป็นชื่อ-นามสกุล เพื่อป้องกันการใช้ลายเซ็นแล้วหาคนที่เซ็นรับไม่ได้ไม่รู้ว่าเป็นลายเซ็นของใคร การตรวจรับมีความสำคัญต่อคุณภาพของอาหาร ต้นทุนในการดำเนินการ และช่วยป้องกันปัญหาการทุจริตที่อาจเกิดขึนได้
สรุปขั้นตอนในการตรวจรับ
- การตรวจสอบสินค้าที่ได้รับกับใบสั่งซื้อ
- การตรวจสอบสินค้าที่ได้รับกับใบกำกับสินค้า
- การตรวจรับสินค้า
- การจัดเก็บ
การจัดเก็บ
การเก็บรักษาอาหารนั้นควรทำทันที่ที่ได้รับของเพื่อป้องกันการสูญเสียและปัญหาต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นได้ ควรเก็บอาหารแต่ละชนิดในสภพาที่เหมาะสมและอยู่ในบริเวณที่จะสามารถเบิกออกไปใช้ในครัวได้อย่างสะดวก การเก็บรักษาที่ถูกต้องจะช่วยยืดอายุของอาหารได้นานขึ้น
ปัจจัยที่จะทำให้การเก็บรักษามีประสิทธิภาพ มีดังนี้
- การบำรุงรักษาห้องเก็บของให้สะอาดและเป็นระเบียบอยู่เสมอ โดยเฉพาะพื้น ฝาผนัง ชั้นเก็บของ ให้มีระเบียบ จัดเก็บให้เป็นหมวดหมู่ เพิ่มการป้องกันหนูและแมลงเข้ามาอาศัย การระบายอากาศ และรักษาอุณหภูมิของห้องให้คงที่
- อปุกรณ์ในการอำนวยความสะดวกในการเก็บรักษาอาหาร เช่น ตู้แช่แข็ง ตู้เย็น หรือกล่องเก็บอาหารต่าง ๆ เป็นต้น ต้องตรวจดูสภาพและอุณหภูมิให้คงที่อยู่เสมอ
- ความรู้ความเข้าใจเนื่องเรื่องของการเปลี่ยนแปลงสภาพของสินค้า โดยทั่วไปการเปลี่ยนแปลงนี้จะเกิดจากสาเหตุ 4 อย่างดังนี้ คือ
- สาเหตุจากทางกายภาพที่เกิดจากการแตก หัก ฉีกขาด ช้ำ ทำให้สินค้าอยู่ในสภาพที่ไม่ดีและก่อให้เกิดการสูยเสียคุณภาพได้ เช่น ผัก ผลไม้สด อาจเน่าเสียและเกิดเชื้อโรคได้
- เกิดจากปฏิกิริยาทางเคมีของเอนไซม์ในอาหารที่เกิดข้นเองตามธรรมชาติ ตามระยะเวลาของการเก็บรักษา มีความชื้น แสงสว่าง และอุณหภูมิ ที่ทำให้ สี กลิ่น และรสชาติเปลี่ยนไป
- เกิดจากจุลินทรีย์ที่กระจายอยู่ทั่วไปในสิ่งแวดล้อมทั้งในดิน น้ำ อากาศ เนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้ อุปกรณ์ต่าง ๆ ทำให้เกิดแบคทีเรีย เชื้อรา ซึ่งจะเปลี่ยนลักษณะ กลิ่นหรือสีของอาหาร ทำให้ให้อาหารเน่า เกิดโรคติดเชื้อจากอาหาร และเป็นอันตรายต่อผู้บริโภค
- เกิดจากการปนเปื้น ตั้งแต่การผลิตจนมาถึงร้านอาหาร ทั้งฝุ่น ดิน น้ำยา ละอองจากสารต่าง ๆ ซึ่งจะทำให้เกิดอันตรายต่อผู้บริโภคได้
วิธีการเก็บรักษา อาจมีการเก็บที่แตกต่างกันไปตามแต่ละชนิดของสินค้า โดยแบ่งออกเป็น 2 ประเภทดังนี้
- เก็บรักษาในอุณหภูมิที่เย็นจัดหรือต่ำกว่าจุดเยือกแข็งตามชนิดของอาหาร มีตู้เย็นที่ทำความเย็นได้ในระดับนี้หรือห้องเย็น ห้องแช่แข็ง โดยส่วนใหญ่แล้วจะเก็บพวกเนื้อสัตว์ และมีระยะเวลาในการเก็บรักษาด้วย
- เก็บรักษาในสภาพที่แห้ง เช่น อาหารแห้ง อาหารบรรจุกระป๋อง หรือภาชนิที่ปิดชนิดอื่น ๆ ที่ทำให้สามารถเก็บได้ในอุณหภูมิที่ไม่ต่ำมากและหากจำเป็นอาจเก็บไว้ที่อุณหภูมิห้องปกติที่มีอากาศถ่ายเทได้ดี
นอกจากนี้แล้ว ควรมีการเก็บรักษาวัสดุสิ้นเปลืองและวัสดุอุปกรณ์เครื่องใช้อื่น ๆ ด้วย โดยการเก็บให้เป็นหมวดหมู่ มีระเบียบในการนำออกมาใช้ง่าย และมั่นรักษาความสะอดาให้อุปกรณ์อยู่ในสภาพที่ดีอยู่เสมอ
สรุปขั้นตอนในการเก็บรักษา
- การตรวจรับสินค้าที่จะนำเข้าไปเก็บ
- การจัดเก็บ
- การบันทึกการจัดเก็บ (ด้วยโปรแกรม M Food)
- การตรวจสอบสภาพที่เก็บรักษา
- การสรุปยอดการจัดเก็บ (ถ้าใช้ระบบ M Food สามารถเปิดรายงานการจัดเก็บได้ทันที)
การเก็บรักษานั้นมีความจำเป็นอย่างมากเพื่อให้สามารถสำรองสินค้าไว้สำหรับให้บิรการได้ทุกเวลาที่ต้องการ ช่วยรักษาคุณภาพของอาหารให้อยนู่ในสภาพที่ดีที่สุดจนกว่าจะมีการนำออกไปให้บริการแก่ลูกค้า และยังช่วยให้ประหยัดค่าใช้จ่ายได้มากอีกด้วย
การเบิกจ่าย
การเบิกจ่ายนั้นเป็นขั้นตอนสำคัญในการควบคุมการนำอาหารออกจากห้องเก็บรักษาไปปรุงอาหาร การเบิกจ่ายที่ดีจะช่วยป้องกันปัญหาการทุจริตได้มาก
ก่อนที่จะไปทำความเข้าใจกันโปรดศึกษาวิธีการเบิกจ่ายด้วยระบบ M Food โดยการ คลิกที่นี่ เพื่อดูวิธีการใช้โปรแกรมช่วยในการเบิกจ่าย
หลักในการเบิกจ่าย มีดังนี้
- เบิกจ่ายในปริมาณที่ต้องการใช้จริง ผู้รับผิดชอบการเบิกจ่ายควรตรวจสอบข้อผิดพลาดและแจ้งให้ผู้เบิกทราบ
- เบิกจ่ายเฉพาะกรณีที่ได้รับอนุญาติ เพื่อป้องกันการนำไปใช้ประโยชน์โดยไม่จำเป็น และอนุญาตให้ทำการเบิกเป็นไปอย่างถูกต้อง
ขั้นตอนการเบิกจ่าย
- จัดทำใบเบิก หรือสร้างใบเบิกผ่านระบบ M Food ซึ่งในใบเบิกจะต้องมี วันที่ เวลาที่เบิก หน่วยที่เบิก ผู้เบิก และระบบของเราจะพัฒนาให้สามารถระบรายละเอียดที่เยอะกว่านี้เพื่อให้การเบิกจ่ายสามารถตรวจสอบได้ง่ายขึ้น
- ทำการตรวจสอบใบเบิกและอนุญาติให้เบิกจ่ายได้
- เบิกจ่ายตามจำนวนที่ขอเบิก และดูสรุปยอดคงเหลือให้ตรงตามระบบ
การเก็บรักษาในห้อง ควรควบคุมการเบิกจ่ายให้เป็นระบบ และสามารถตรวจสอบปริมาณคงเหลือได้ในเวลาอันรวดเร็ว และตรงกับระบบด้วย
การควบคุมการเบิกจ่ายที่มีประสิทธิภาพจะมีผลต่อต้นทุนในการดำเนินการเป็นอย่างมาก หากควบคุมต้นทุนส่วนนี้ไม่ได้จะส่งผลต่อกำไร และอาจก่อให้เกิดการขาดทุนได้ ดังนั้น ควรทำการบันทึกการเบิกจ่ายผ่านระบบของ M Fodd ทุกครั้ง เพื่อให้ระบบสามารถนำข้อมูลเหล่านี้มาเก็บรวบรวมสถิติและทำการพยากรณ์จำนวนและเวลาที่จะต้องทำการสั่งซื้อในครั้งต่อไปให้เหมาะสม และทันการสามารถลดต้นทุนได้
แนวทางการควบคุมการเบิกจ่าย ได้แก่
- การควบคุมการเบิกจ่ายให้เป็นไปตามขั้นตอน
- การจัดทำบัญชีรายการสินค้าที่เก็บรักษา
- การตรวจสอบสินค้าที่เก็บรักษาไว้
การดำเนินงานในร้านอาหารทุกส่วนตั้งแต่การจัดการธุรกิจ การผลิตอาหาร การให้บริการอาหารและเครื่องดื่ม และการพัฒนาร้านอาหาร จำเป็นจะต้องศึกษารายละเอียดและดำเนินงานไปพร้อมกันทุกส่วนโดยเฉพาะเจ้าของกิจการควรมีความรู้ทุกด้านจึงจะทำให้ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มประสบความสำเร็จ
การนำแอพพลิเคชันเข้ามาช่วยบริหารจัดวัตถุดิบมีวิธีการดังนี้
ศึกษาคู่มือวิธีการใช้งานโปรแกรมร้านอาหารคลิกที่นี่
อีกหนึ่งฟังก์ชันของแอพฯ M Food ที่ควรใช้งานคือการบริหารจัดการวัตถุดิบของร้านอาหาร เพื่อให้เราสามารถจัดสรรค์วัตถุดิบได้ตามความต้องการในแต่ละวันได้ง่ายขึ้น เพื่อให้สามารถนำข้อมูลเหล่านี้มาคำนวนการสั่งซื้อวัตถุดิบเพื่อสนับสนุนการทำอาหารได้ทันเวลา
คลิกที่นี่เพื่อดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่นร้านอาหาร
ที่เมนูด้านล่างของหน้าจอให้กดเข้าไปที่ “วัตถุดิบ” จะพบหน้าจอดังรูป
ซึ่งวัตถุดิบที่เราเพิ่มเข้าไปนั้นสามารถนำมาผูกเข้ากับเมนูอาหารได้ ทุกครั้งที่มีการสั่งอาหารระบบจะทำการตัดสต็อกของวัตถุดิบออกให้ทันที
วิธีการเพิ่มวัตถุดิบ ให้ทำดังนี้
กดไปที่ปุ่ม “เพิ่มวัตถุดิบของอาหาร” จากนั้นกรอกข้อมูลของวัตถุดิบลงไป
เมื่อกรอกข้อมูลครบแล้วให้กดปุ่มบันทึก
สามารถกดปุ่มเพิ่มวัตถุดิบอื่น ๆ ได้ทันที หรือกดปุ่มปิด
หลังจากที่เพิ่มวัตถุดิบเข้ามาแล้วจะพบว่าวัตถุดิบที่เพิ่มเข้ามาจำนวนยังเป็น 0 อยู่
การเพิ่มจำนวนสต็อกวัตถุดิบ เมื่อต้องการเพิ่มจำนวนในสต็อกให้กดที่ปุ่ม (1) “นำเข้าวัตถุดิบ” เพื่อนำเข้าจำนวนวัตถุดิบ
จากนั้นกดที่ปุ่ม (2) “เพิ่มจำนวนวัตถุดิบ” แล้วระบุข้อมูลการนำเข้าวัตถุดิบ
ให้กำหนดวันที่ที่เรานำวัตถุดิบเข้ามาเก็บ
ตรงช่อง Invoice สามารถใส่ก็ได้หรือไม่ใส่ก็ได้ หากเรามีใบเสร็จในการสั่งของเราก็สามารถนำหมายเลขสั่งซื้อบนใบเสร็จนั้นมาใส่เพื่อให้สามารถนำมาอ้างอิงข้อมูลย้อนหลังได้ จากนั้นเลือกวัตถุดิบที่เราได้เพิ่มไว้แล้วก่อนหน้านี้
กรอกรายละเอียด ถ้ามี จากนั้นใส่จำนวนที่รับเข้ามาพร้อมกับราคา
ตรงช่องผู้จำหน่าย ใส่ก็ได้ไม่ใส่ก็ได้ หากสามารถระบุผู้จำหน่ายก็จะทำให้เราสามารถตรวจสอบข้อมูลย้อนหลังได้ง่ายขึ้น เพื่ออ้างอิงราคาของแต่ละผู้จำหน่ายได้
จากนั้นกดปุ่มบันทึก แล้วรอ...
เมื่อบันทึกสำเร็จจะแสดงข้อมูลการนำเข้าวัตถุดิบ ดังรูป
เราสามารถแก้ไขหรือลบจำนวนออกได้ จากนั้นกดปุ่มปิด จะพบข้อมูลที่ได้นำเข้าวัตถุดิบ ดังรูป
เมื่อกดเข้ามาที่หน้าสต็อกวัตถุดิบจะพบจำนวนที่นำเข้าแสดงขึ้นมาแล้ว ดังรูป
การเบิกวัตถุดิบ หากต้องการเบิกออกเพื่อนำไปทำอย่างอื่นสามาถกดที่ปุ่ม “เบิกออก” แล้วใส่จำนวนและกดปุ่มบันทึกได้ทันที
การจัดการส่วนอื่น ๆ ของวัตถุดิบ ที่ไว้สำหรับวัตถุดิบมีดังนี้
- รายงานเบิก คือ รายงานการเบิกวัตถุดิบในแต่ละวัน รวมทั้งออร์เดอร์คำสั่งซื้อและจากการกดเบิกออกจากระบบด้วย
- กลุ่มของวัตถุดิบ คือ เราสามารถกำหนดกลุ่มของวัตถุดิบได้เอง
- ประเภทของวันถุดิบ คือ เราสามารถกำหนดประเภทของวัตถุดิบได้เอง
การผูกวัตถุดิบเข้ากับเมนูอาหาร หลังจากที่ได้วัตถุดิบแล้ว ต่อไปก็ต้องนำวัตถุดิบนี้ไปผูกเข้ากับเมนูอาหารของเรา เพื่อให้ระบบสามารถตัดสต็อกวัตถุดิบได้ตามออร์เดอร์ของลูกค้าที่สั่งอาหารเข้ามา การผูกวัตถุดิบเข้ากับเมนูอาหารให้ทำดังนี้
ให้เข้ามาที่หน้าของเมนูอาหาร
จากนั้นกดเลือกเข้าไปที่เมนูอาหารที่ต้องการผูกวัตถุดิบ แล้วกดที่ปุ่ม “เพิ่มส่วนประกอบ” ที่อยู่ด้านล่างของหน้าจอ ดังรูป
เมื่อเข้ามาแล้วให้เลือก (1) วัตถุดิบ ที่ต้องการผูกเข้ากับเมนูอาหาร (2) กรอกรายละเอียด ถ้ามี (3) ใส่จำนวนที่นำมาใช้กับเมนูอาหารนี้ (4) กดปุ่มบันทึก
เมื่อบันทึกเสร็จแล้วลองกดที่ปุ่ม “ดูรายละเอียด”
แล้วเลื่นอหน้าจอลงมาด้านล่างจะพบว่ามีวัตถุดิบเข้ามาอยู่ที่เมนูนี้แล้ว ดังรูป
สามารถกดปุ่มลบหรือแก้ไขได้ จากนั้นให้ทดลองสั่งอาหารด้วยเมนูนี้ดูว่าจำนวนในสต็อกวัตถุดิบจะถูกตัดออกหรือไม่
หลังจากที่สั่งอาหารและลูกค้าชำระค่าอาหารแล้วระบบจะทำการตัดสต็อกวัตถุดิบจาก 5 เหลือ 4 ดังรูป
ลองกดเข้าไปที่รายงานการเบิก จะพบว่ามีข้อมูลการเบิกพร้อมกับวันที่และเวลาเดียวกันกับที่สั่งอาหาร ดังรูป
เมื่อกดที่ปุ่มเปิดดูจะพบข้อมูลการเบิก ดังรูป สามารถกดที่หมายเลขออร์เดอร์เพื่อดูรายละเอียดคำสั่งซื้อได้
จะเห็นได้ว่าการจัดการวัตถุดิบของร้านอาหารไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไปหากเราใช้ระบบของ M Food เข้ามาช่วย ขอให้ใช้งานบ่อย ๆ แล้วทุกอย่างจะง่ายขึ้นเอง
คลิกที่นี่ เพื่อดูการจัดการร้านอาหาร เพื่อการบริการอาหารและเครื่องดื่ม
ป้ายกำกับ : โปรแกรมร้านอาหาร การเปิดร้านอาหาร บริหารค่าใช้จ่าย
หมวดหมู่ ขั้นตอนการใช้งาน ข่าวสาร ประชาสัมพันธ์ ท่องเที่ยว บ้านและสวน มาตรฐาน ร้านอาหาร รีวิวร้านอาหาร วัตถุดิบประกอบอาหาร สุขภาพ อาหาร เกษตร เครื่องดื่ม โปรแกรมร้านอาหาร โปรโมชั่น ข่าวสาร ประชาสัมพันธ์ทั้งหมด
โพสโดย : M Food
อ่านวิธีลงบทความของคุณได้คลิกที่นี่
บทความโปรแกรมร้านอาหารที่คุณอาจสนใจ
วิธีสร้าง QR Code สั่งอาหาร หรือ QR Code ของร้านอาหารเพื่อแสดงเมนูอาหาร
18/08/2020 20:54:41
วิธีใช้แอพสแกนเมนูอาหารเพื่อสั่งอาหารในยุค New Normal
04/09/2020 05:52:38
วิธีใช้แอพ ออกแบบเมนูอาหาร ด้วยแอพ M Food Service ช่วยให้ประหยัดค่าใช้จ่ายขึ้นเยอะ
13/05/2020 08:07:20
การเพิ่มเมนูอาหารเข้ามาในแอพ M Food Service ฉบับ Mobile และ Android Application
24/08/2020 13:45:56
ร้านอาหารที่คุณอาจสนใจ

Chicken Finn
ข้าวมันไก่ ข้าวหมูกรอบ ข้าวหมูแดง Rice steamed with chicken soup, Crispy Pork Rice, Red Beef Rice 海南鸡饭、香脆肉丝饭、红牛肉饭

คุณโรส ชามาเล
ชา กาแฟ ชานมมาเลย์ ชาไต้หวันมะนาวหวาน ชานมไข่มุกไต้หวัน ไซรัปผลไม้ โอเลี้ยง ชาเขียว นม โซดา เย็น ปั่น พิซซ่า สปาเก็ตตี้ เมนูแนะนำ ชานมมาเลย์ ชาไต้หวันมะนาวหวาน โอเลี้ยง