การตลาดสำหรับร้านอาหาร

อัพเดท : 24/05/2020 08:21:01, อ่าน : 81,661 , โพสโดย : M Food, หมวดหมู่ โปรแกรมร้านอาหาร

     การที่เราจะมีร้านอาหารขึ้นมาซักร้าน สิ่งหนึ่งที่ขาดไม่ได้นั่นคือการตลาด โดยเฉพาะปัจจุบันช่องทางในการโปรโมทร้านอาหารที่มีมากมายขึ้น สามารถเข้าถึงผู้คนได้ทุกที่ทุกเวลา เช่น Facebook, Google, Instagram, LINE เป็นต้น และถ้าเจอช่วงที่ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ ลูกค้าอาจมีความจำเป็นต้องประหยัดการใช้จ่ายมากขึ้น แต่การที่จะต้องกินต้องใช้ก็ยังคงเป็นสิ่งจำเป็นในชีวิตประจำวันเหมือนเดิม ดังนั้น ธุรกิจร้านอาหารที่มีการแข่งขันสูงเช่นนี้แล้ว การเลือกปรับใช้กลยุทธ์ทางการตลาดที่มีมากมายและขึ้นอยู่กับขนาดของกิจการแล้วก็จะสามารถให้อยู่รอดในภาวะเศรษฐกิจฝืดเคืองและดำเนินกิจการต่อไปได้

ความหมายของการตลาด

     การตลาด หรือ Marketing หมายถึง การดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ทางธุรกิจ ที่มีผลทำให้สินค้าและบริการส่งตรงจากผู้ผลิตไปสู่ผู้บริโภค โดยสือประชาสัมพันธ์ต่าง ๆ ที่สามารถทำให้ผู้บริโภครับรู้และเข้าถึงได้ง่ายขึ้น โดยข้อมูลที่ผู้บริโภคได้รับ เช่น การผลิตสินค้าและบริการ การกำหนดราคาขาย ช่องทางการจัดจำหน่าย และการส่งเสริมการขายต่าง ๆ 

     การตลาดจะเป็นการเน้นย้ำให้ผู้บริโภคได้รับรู้ถึงความต้องการและประโยชน์ที่จะได้รับสูงสุดและคุ้มค่าที่สุด การกำหนดราคาที่เหมาะสมกับระดับการบริการที่ลูกค้าคาดว่าจะได้รับและสามารถสร้างผลกำไรให้แก่ธุรกิจ ช่องทางการจัดจำหน่ายและการกระจายสินค้าที่เหมาะสม ลูกค้าได้รับความสะดวกในการเข้าถึง ยิ่งทุกวันนี้ควรเข้าถึงได้ทุกที่ ทุกเวลา ผ่านแอพพลิเคชั่น M Food ที่ให้บริการระบบ Delivery สำหรับร้านหาร (คลิกที่นี่เพื่อดูวิธีใช้งาน) อีกทั้งยังสามารถโปรโมทหรือเพิ่มการส่งเสริมการตลาดผ่าน M Food ได้อีกหนึ่งช่องทางด้วย เพื่อสร้างบทความดี ๆ หรือเรื่องเล่าก่อนที่จะได้อาหารแต่ละเมนู ที่ได้รับความสนใจจากลูกค้าและลิงค์ไปยังร้านอาหารจะสามารถเพิ่มช่องทางในการจำหน่ายอาหารได้รวดเร็วและทันใจลูกค้ามากขึ้น

ความสำคัญของการตลาด

     การตลาดมีความสำคัญในการเปิดโอกาสให้ธุริจมีการแข่งขันกันได้อย่างเสรี และนำไปสู่การขยายกิจการต่อไปได้โดยใช้กลยุทธ์การส่งเสริมการขาย เผยแพร่กิจการของเราให้เป็นที่รู้จักของผู้คน การตลาดมีความสำคัญดังนี้

     1. ความสำคัญต่อการดำเนินธุรกิจและความสำเร็จของธุรกิจ โดยเฉพาะธุรกิจที่มีการแข่งขันสูง เช่น ร้านอาหารต่าง ๆ ร้านเครื่องดื่ม ร้านชากาแฟ เป็นต้น การตลาดมีความสำคัญต่อการวางแผนดำเนินธุรกิจทั้งในระยะสั้นและระยะยาว มีการปรับแผนงานให้สอดคล้องกับความต้องการและการเปลี่ยนแปลงของผู้บริโภค สร้างความพอใจให้แก่ผู้บริโภค เพื่อเพิ่มยอดขายและสร้างผลกำไรให้กับธุรกิจในที่สุด

     2. ความสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศ การวางแผนการตลาดที่ดีนั้นจะยิ่งช่วยเพิ่มยอดขายและกำไรให้แก่ธุรกิจ และนำมาสู่การขยายกิจการต่อไปในอนาคต นำมาซึ่งการลงทุนในธุรกิจที่เกี่ยวข้องมากขึ้น ยกตัวอย่างเช่น CP ที่เริ่มแรกเดิมทีประกอบกิจการเมล็ดพันธ์ผัก ต่อมาขยายกิจการเป็นเลี้ยงไก่ ส่งเสริมการปลูกข้าวโพดเพื่อนำมาเป็นอาหารสัตว์ และส่งเสริมเกษตรกรไทยไปสู่ครัวโลกได้ ส่งผลให้มีความต้องการใช้วัตถุดิบของกิจการเพิ่มขึ้น และมีอาณาจักธุรกิจอีกมากมายที่เชื่อมต่อประสานกันได้อย่างลงตัวที่ควรดูไว้เป็นกรณีศึกษา อีกทั้งยังเพิ่มการจ้างแรงงาน ทำให้ประชาชนมีรายได้และเพิ่มความสามารถในการจับจ่ายใช้สอย ผลจากการที่ประชากรมีรายได้เพิ่มขึ้นจะทำให้ระบบเศรษฐกิจโดยรวมมีอัตราการขยายตัวที่ดีขึ้น

     3. ความสำคัญต่อผู้บริโภค การตลาดทำให้ธุรกิจพยายามพัฒนาสินค้าและบริการใหม่ ๆ มาเสนอในตลาดเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคที่มีความต้องการในขั้นเลือกมากขึ้น มีการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาใช้เป็นการทำการตลาดในยุคดิจิตอลที่เห็นผลชัดเจนและตรงกลุ่มเป้าหมาย เช่น ระบบ M Food ที่ให้ร้านอาหารสามารถเปิดร้านอาหารได้ฟรี และให้ผู้บริโภคสั่งอาหารผ่านแอพพลิเคชัน เพื่อให้จัดส่งแบบ Delivery ถึงบ้านได้ด้วย (คลิกที่นี่เพื่อดูวิธีใช้งานแอพฯสำหรับร้านอาหาร) และการตลาดโดยใช้สือต่าง ๆ ผ่านทางโซเซียลมีเดียต่าง ๆ หรือแอพพิลเคชั่นที่ได้รับความนิยมอยู่คือ Facebook, LINE, Instagram และ Youtube อีกทั้งยังสามารถสร้างระบบเสมือนจริงหรือ Virtual reality หรือที่รู้จักกันในชื่อ VR นั่นเอง ทำให้ผู้ใช้บริการได้รับความสะดวกรวดเร็วมากขึ้น และเข้าถึงได้ทุกที่ทุกเวลา นอกจากนี้ยังทำให้สินค้าที่ผลิตมีคุณภาพที่ได้มาตรฐาน ช่วยให้ลดต้นทุนในการผลิตได้ต่ำลง และสามารถกำหนดราคาได้ต่ำลงเช่นกัน เป็นปัจจัยผลักดันสินค้าและบริการจากผู้ผลิตไปสู่ผู้บริโภคได้เร็วยิ่งขึ้น ช่วยสร้างมาตรฐานและความเป็นอยู่ของประชาชนดีขึ้น

ประเภทของตลาด

     ตลาด สามารถแยกประเภทได้ตามลักษณะของผู้ซื้อ แรงจูงใจและวิธีการซื้อดังนี้

     1. ตลาดผู้บริโภค หมายถึง ตลาดลูกค้าที่ซื้อสินค้าและบริการไปเพื่อการใช้หรือการบริโภคตามความต้องการและความพอใจของตน เช่น การซื้ออาหารสำเร็จรูปหรืออาหารพร้อมปรุงจากห้างสรรพสินค้า ร้านค้าสะดวกซื้อ หรือการบริการอาหารแบบนี้เน้นในเรื่องการจัดหีบห่อ ราคาถูก ความสดใหม่ของสินค้า และการจัดชั้นวางขายที่ส่วยงาม สะดวกในการเลือก และอีกระบบที่ขาดไม่ได้คือระบบ Delivery ที่ทั้งสะดวกในด้านเวลาและการกำหนดวันจัดส่งอาหารได้อย่างชัด เจนผ่านระบบของ M Food ทำให้เหมาะแก่สภาพชีวิตและความเป็นอยู่ที่เร่งรีบในปัจจุบัน

     2. ตลาดอุตสาหกรรม เป็นตลาดที่ผู้ซื้อสินค้าและบริการเพื่อไปผลิตสินค้าใหม่หรือนำไปขายต่อให้แก่ผู้บริโภค เช่น การซื้อเนื้อสัตว์ ข้าว ผัก ผลไม้ ตลอดจนเครื่องใช้ต่าง ๆ ในครัวเรือน เป็นต้น เพื่อผลิตอาหารและจำหน่ายให้ลูกค้าทั่วไป  การบริการที่ไม่เน้นการบรรจุหีบห่อที่สวยงาม แต่เน้นในเรื่องของความสะดวกในการซื้อหา ราคาขายส่งที่มีการต่อรองราคาได้ คุณภาพสินค้าได้ตามที่ตกลง และการขนส่งที่สะดวก

 

การวิเคราะห์ทางการตลาดในธุรกิจร้านอาหาร

     ผู้ลงทุนควรมีการวิเคราะห์โอกาสทางการตลาดหลาย ๆ ด้านก่อนการตัดสินใจในการลงทุนในธุรกิจร้านอาหาร เพื่อให้เราสามารถทราบถึงความเป็นไปได้ของธุรกิจ ข้อจำกัด และโอกาสในการประกอบธุรกิจ ซึ่งประกอบด้วยดังนี้

     1. การวิเคราะห์โอกาสทางการตลาด ประกอบด้วย

          1.1 การวิเคราะห์สภาวะแวดล้อมทางการตลาดระดับจุลภาค หมายถึง สภาวะแวดล้อมภายในกิจการของธุรกิจที่จะมีอิทธิพลต่อความสามารถในการให้บริการแก่ลูกค้า ได้แก่

  • ลักษณะของกิจการ รูปแบบของอาหาร การบริการ เช่น ร้านก๊วยเตี๋ยว ร้านอาหารตามสั่ง ร้านอาหารอีสาน หรือภัตตาคาร
  • วัตถุดิบที่ใช้ในการประกอบอาหาร แหล่งผลิตและราคาวัตถุดิบ
  • พ่อค้าคนกลาง ผู้จำหน่ายวัตถุดิบและผู้จัดส่ง
  • พ่อครัว บุคคลที่มีฝีมือในการปรุงอาหาร ลูกมือ
  • พนักงานเสิร์ฟ และบริการในส่วนอื่น ๆ เช่น ล้างจาน ทำความสะอาด
  • ปริมาณเงินทุนที่จะใช้ในการลงทุน
  • แผนกหรือโซนต่าง ๆ ในร้านอาหาร (สำหรับร้านใหญ่ ๆ ) เช่น แผนกเครื่องดื่ม บาร์ ห้องอาหาร และการจัดเลี้ยง

          1.2 การวิเคราะห์สภาวะแวดล้อมทางการตลาดระดับมหภาค หมายถึง สถาวะแวดล้อมภายนอกที่มีอิทธิพลในวงกว้างต่อการดำเนินกิจการและความสามารถในการให้บริการลูกค้า สภาวะแวดล้อมเหล่านี้ได้แก่

  • สภาวะแวดล้อมทางด้านประชากรศาสตร์ หมายถึง โครงสร้างของประชากร ขนาดของครอบครัว อายุ เพศ อาชีพ รายได้ การศึกษา เชื้อชาติ สัญชาติ อัตราการเกิด การประมาณการจำนวนประชากรที่จะเพิ่มขึ้น ผู้ประกอบกิจควรศึกษาเพื่อทราบลักษณะของลูกค้า และสามารถประมาณการจำนวนและอุปสงค์ (หรือความต้องการ) ของลูกค้าในอนาคตได้
  • สภาวะแวดล้อมทางด้านภูมิศาสตร์ หมายถึง ลักษณะภูมิประเทศ ภูมิอากาศ เขตพื้นที่ ย่านทำเลที่ตั้ง และลักษณะทางกายภาพอื่น ๆ เพื่อตัดสินใจในการออกแบบร้านอาหาร เช่น การออกแบบเป็นห้องโล่งปรอดโปร่งถ้าอากาศดี หรือห้องกระจกและมีเครื่องปรับอากาศ รวมไปถึงเรื่องของความสะดวกในการเข้าถึงและการจอดรถด้วย เพราะปัจจุบันปัญหาที่จอดรถยังเป็นปัญหาใหญ่สำหรับหลาย ๆ สถานที่
  • สภาวะแวดล้อมทางด้านสังคมและวัฒนธรรม หมายถึง ลักษณะความคิด ความนิยมชมชอบ ความเชื่อ ค่านิยมต่าง ๆ และพฤติกรรมการบริโภคของคนในสังคมหรือท้องถิ่นนั้นที่มีอิทธิพลต่อการเลือกรับประทานอาหาร รสชาติในการปรุง เช่น การไม่ทานหมูเพราะนับถือศาสนาอิสลาม การไม่ทานเนื้อวัวเพราะนับถือเจ้าแม่กวนอิม สังคมชาวต่างชาติที่มาทำงานในไทย เช่น คนญี่ปุ่นที่มาอยู่เมืองไทยนาน ๆ ก็อยากจะทานอาหารญี่ปุ่นบ้าง หรืออาหารรสไม่จัดมากสำหรับชาวต่างชาติ การที่เรารู้จักสังคมและวัฒนธรรมของลูกค้าจะช่วยให้การจัดบริการอาหารและเครื่องดื่มได้ถูกปากและถูกใจลูกค้ามากขึ้น
  • สภาวะแวดล้อมทางเศรษฐกิจ เป็นปัจจัยที่บอกถึงระดับรายได้ การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างค่าใช้จ่าย สถานะทางการเงิน และอำนาจในการซื้อของผู้บริโภค ถ้าผู้บริโภคมีอำนาจในการซื้อสูงก็จะเปิดโอกาสอันดีในการประกอบธุรกิจและขยายกิจการให้ใหญ่ขึ้น เพิ่มความหรูหราและทันสมัยขึ้นด้วย แต่ถ้าหากว่าอยู่ในช่วงที่สภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ หรืออยู่ในเขตที่มีอำนาจการซื้อน้อย ผู้ประกอบธุรกิจจำเป็นจะต้องมีการปรับปรุงหรือวางแผนในหลายส่วนเพื่อให้ยังสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ หรือสามารถสร้างแรงจูงใจให้ลูกค้าเข้ามาใช้บริการได้ในสภาวะของเศรษฐกิจที่เป็นอยู่ได้
  • สภาวะแวดล้อมทางด้านการเมืองและกฎหมาย หากการเมืองมั่นคงก็ย่อมส่งผลกระทบให้เศรษฐกิจของประเทศมั่นคงด้วย อย่างที่หลาย ๆ ประเทศมองว่าหากไทยเราไม่มีปัญหาทางด้านการเมืองเราอาจจะกลายเป็นประเทศมหาอำนาจทางด้านเศรษฐกิจไปแล้วก็เป็นได้ เมื่อมองย้อนกลับมาที่ผู้ประกอบการ สำหรับการเมืองแล้วจะได้รับผลกระทบนี้โดยตรง เนื่องจากเศรษฐกิจก็คือสภาวะความเป็นอยู่ของประชาชนนั่นเอง นอกจากนี้การประกอบธุรกิจบริการอาหารและเครื่องดื่มยังต้องอาศัยกฎหมาย ระเบียบในการขออนุญาิต การดำเนินงาน และการยื่นชำระภาษีด้วย

     2. การวิเคราะห์ทางการตลาดของธุรกิจ หมายถึง การวิเคราะห์จุดแข็ง (Strength) จุดอ่อน (Weakness) โอกาส (Opportunity) และข้อจำกัด (Threat) ของธุรกิจว่ามีจุดเด่น จุดด้อยในเรื่องใดบ้าง โดยรวมแล้วเรียกว่า SWOT Analysis

     จุดแข็ง หมายถึง การวิเคราะห์จุดเด่นของเรา ข้อดี คุณสมบัติของกิจการที่กำลังดำเนินการอยู่ หรือกำลังจะเริ่มประกอบกิจการ โดยการเปรียบเทียบและบอกรายละเอียดให้เห็นอย่างชัดเจน เช่น จำนวนเงินที่ต้องลงทุน ทำเลที่ตั้งดีหรือไม่ หัวหน้าหรือผู้จัดการ พ่อครัวแม่ครัวหรือผู้ที่ต้องมาทำอาหารมีฝีมือดีมากแค่ไหน สามารถปรุงอาหารได้หลากหลายประเภท สามารถหาแหล่งวัตถุดิบได้ง่าย ราคาไม่แพง มีพนักงานบริการที่มีประสบการณ์มาร่วมทำงานด้วย มีระบบ M Food คอยช่วยจัดการร้านอาหาร

     จุดอ่อน หมายถึง การวิเคราะห์ข้อเสียหรือจุดด้อยภายในกิจการของเรา โดยการเปรียบเทียบกับธุรกิจรายอื่น ๆ เช่น มีเงินทุนน้อย ไม่มีพ่อครัวหรือแม่ครัวที่มีความเก่งกาจพอ พนักงานบริการไม่มีประสบการณ์มาก่อน ฝึกยาก ไม่มีหัวหน้าหรือผู้จัดการร้านฝีมือดี ทำเลไม่ดีพอ ที่จอดรถของลูกค้าไม่มี เป็นต้น

     ข้อจำกัด หมายถึง การวิเคราะห์สถานะการณ์ภายนอกที่เป็นตัวสกัดกั้นหรือจำกัดขอบเขตของการดำเนินธุรกิจ เช่น กฎหมายในเรื่องการคุ้มครองผู้บริโภค กฎหมายเกี่ยวกับความปลอดภัยและสุขาภิบาล การก่อนสร้างอาคาร เป็นต้น

     3. การวิเคราะห์ตลาดผู้บริโภคและพฤติกรรมการบริโภคของลูกค้า หมายถึง การวิเคราะห์เพื่อทราบลักษณะและความต้องการที่แท้จริงของลูกค้า ประเภทและรายการอาหารที่นิยมบริโภค ลักษณะอาหาร วิธีการปรุงอาหาร หรือแม้กระทั่งเทรนของอาหารที่กำลังมาแรง อาจจะดูจากกลุม Facebook ก็มีส่วนในสังคมนั้น ๆ ได้เหมือนกัน ราคา ค่านิยมต่าง ๆ และปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการบริโภคในปัจจุบัน และการคาดคะเนหรือกระตุ้นให้เกิดความต้องการบริโภคในอนาคต หรือไม่จำเป็นต้องดูพฤติกรรมของผู้บริโภคเพียงแต่เราเป็นคนเปิดร้านอาหารที่นำเทรนใหม่ ๆ เข้ามา หรือเป็นเจ้าแรกที่มาเปิดร้านก็จะยิ่งส่งผลให้เราเป็นผู้นำและตัดเรื่องคู่แข่งได้

     4. การวิเคราะห์คู่แข่ง ทั้งคู่แข่งแบบทางตรงและทางอ้อม ให้พิจารณาศักยภาพของธุรกิจและทราบความสามารถของคู่แข่งเพื่อดึงดูดหรือแย่งชิงลูกค้าให้มาใช้บริการในร้านอาหารของเรา มีวิธีการที่จะต้องดูเรื่องคู่แข่งดังนี้

  • การประเมินจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และข้อจำกัด หรือใช้ SWOT Analysis ของคู่แข่ง โดยเปรียบเทียบกับกิจการของเรา
  • การวิเคราะห์ทางการตลาดของคู่แข่ง คือ สินค้าและบริการที่เสนอขายอยู่และลูกค้าติดใจ ราคาของอาหารและเครื่องดื่ม ช่องทางการจัดจำหน่ายและวิธีการกระจายสินค้าจนเป็นที่รู้จัก และการส่งเสริมการตลาดต่าง ๆ ที่ดึงดูดให้ลูกค้าเข้ามาใช้บริการเร็วขึ้นและบ่อยขึ้น

     เมื่อทราบกลยุทธ์ของคู่แข่งแล้ว และเราได้ปรับปรุงพัฒนาร้านอาหารของเรา สินค้าและบริการของเราแล้ว ควรมีการประเมินผลตอบรับของลูกค้าของคู่แข่งด้วย

การแบ่งส่วนตลาดและการกำหนดตลาดเป้าหมาย

     การแบ่งส่วนตลาด หมายถึง การคัดเลือกส่วนของตลาดอย่างมีประสิทธิภาพจากกลุ่มลูกค้าทั้งหมด ร้านอาหารมีาความจำเป็นจะต้องคัดเลือกลูกค้าที่มีความต้องการท่จะเข้าไปครอบครองส่วนแบ่งและต้องการให้บริการมากกว่ากลุ่มอื่น ๆ โดยปัจจัยที่ต้องนำมาพิจารณาในการแบ่งส่วน มีดังนี้

  • อายุ เพศ อาชีพ ระดับรายได้ และระดับการศึกษา
  • รสนิยมและพฤติกรรมในการบริโภค
  • อำนาจหรือกำลังซื้อของผู้บริโภค
  • ระดับชั้นของสังคม
  • ศาสนา
  • วัฎจักรครอบครัว (Family Life Cycle) เช่น 

          อายุระหว่าง 15-19 ปี โสด ชอบรับประทานอาหารนอกบ้านกับเพื่อน หรือกลุ่มเพื่อน กับครอบครัว

          อายุระหว่าง 20-24 ปี แต่งงานแล้ว ยังไม่มีบุตร มักชอบรับกระทานอาหารตามลำพังคู่สามี/ภรรยา หรือกลุ่มเพื่อน ๆ ตามลำพังในบางโอกาส

          อายุระหว่าง 25-34 ปี แต่งงานแล้ว เริ่มมีบุตร แต่บุตรยังเยาววัย ชอบรับประทานอาหารตามลำพังครอบครัว สามี/ภรรยา และกับกลุ่มเพื่อน ๆ บ้างในบางโอกาส

          อายุระหว่าง 35-44 ปี ครอบครัวที่มีบุตรกำลังโต ชอบรับประทานอาหารกับสามี/ภรรยา รวมทั้งกับสมาชิกของครอบครัวอื่นด้วย

          อายุระหว่าง 45-54 ปี ครอบครัยที่มีบุตรโตแล้ว รับประทานอาหารข้างนอกกับสามี/ภรรยา ครอบครัว และเพื่อน ๆ จะมีความสำคัญน้อยลง

          อายุระหว่าง 55-64 ปี ช่วงที่กำลังเกษียณอายุและเข้าสู่วัยเกษียณแล้ว เป็นอิสระจากสามี/ภรรยามากขึ้น รับประทานอาหารข้างนอกกับเพื่อน ๆ และครอบครัวมีความสำคัญมากขึ้น

          อายุ 65 ปีขึ้นไป เข้าสู่วัยเกษียณเต็มตัว ครอบครัวเป็นผู้นำในการไปรับประทานอาหารข้างนอกทั้งที่มีสามี/ภรรยาไปด้วย

     นอกจากนี้แล้วอาจจะใช้ทฤษฎีจิตวิทยาความต้องการของ Maslow มาพิจารณาการแบ่งส่วนตลาดและจัดรูปแบบการบริการอาหารและเครื่องดื่มด้วย ดังนี้

     1. ความต้องการทางด้านกายภาพ ตอบสนองความต้องการของร่างกาย เช่น หัวหรือกระหายน้ำอย่างเดียว อาจใช้การบริการแบบกดปุ่มจากเครื่องอัตโนมัติ

     2. ความต้องการความมั่นคงและความปลอดภัย อาจเลือกใช้บริการแบบอาหารจานด่วน

     3. ความต้องการได้รับการยอมรับในสังคม อาจเลือกใช้บริการของภัตตาคาร Coffee Shop และบริการอาหารแบบปรุงสำเร็จ

     4. ความต้องการได้รับความเคารพ นับถือ ยกย่อง อาจเลือกใช้บริการในห้องอาหารชั้นนำ หรือ Dinner Houses

     5. ความต้องการความสำเร็จสูงสุดในชีวิต อาจเลือกใช้บริการของห้องอาหารแบบหรูหรา หรือ Luxury Restaurants

     เมื่อได้ส่วนของตลาดแล้ว ให้นำมาประเมินข้อดีของแต่ละส่วนตลาดและกำหนดตลาดเป้าหมาย เช่น เลือกกลุ่มเป้าหมายที่มีอายุระหว่าง 25-45 ปี เมื่อได้ตลาดเป้าหมายแล้ว ร้านอาหารจะใช้กลยนุทธิ์และความพยายามทางการตลาดอื่นเพื่อตอบสนองประโยชน์ของผู้บริโภค

 

การกำหนดตำแหน่งผลิตภัณฑ์

     การกำหนดตำแหน่งผลิตภัณฑ์ เป็นกระบวนการสร้างการรับรู้ในความนึกคิดของผู้บริโภคที่มีต่อผลิตภัณฑ์ สินค้าและบริการของร้านอาหารเมื่อเปรียบเทียบกับคู่แข่งแล้ว โดยมีจุดประสงค์ดังนี้

  • เพื่อสร้างความแต่กต่างในตัวสินค้าและบริการจากคู่แข่ง และพยายามให้ลูกค้าเห็นความแตกต่างของเรา
  • เพื่อกำหนดแนวคิดเกี่ยวกับการกำหนดตำแหน่งของผลิตภัณฑ์สำหรับเป้าหมายแต่ละส่วน
  • เพื่อเลือกพัฒนาและปรับปรุงผลิตภัณฑ์และบริการให้มีจุดเด่นและแตกต่าง ตรงกับความต้องการของตลาดเป้าหมายมากที่สุด

 

 

 

 

วิธีการกำหนดตำแหน่งผลิตภัณฑ์

     สามารถเลือกการกำหนดตำแหน่งผลิตภัณฑ์ได้หลายวิธีดังนี้

     1. กำหนดตำแหน่งตามคุณสมบัติและประโยชน์ เช่น ร้านอาหารจานด่วน เน้นความสะดวก รวดเร็ว สะอาด ราคาถูก และได้มาตรฐาน

     2. กำหนดตำแหน่งผลิตภัณฑ์ทางด้านราคาและคุณภาพ เช่น รายการอาหารพิเศษกับการให้บริการค่อนข้างหรูหราในราคาที่ลูกค้ายอมรับในคุณค่าที่ได้รับ

     3. การกำหนดตำแหน่งผลิตภัณฑ์ตามการใช้งานและการนำออกไปใช้ เช่น การใช้บิรการเพื่อการผ่อนคลายความเครียดและได้รับประทานอาหารที่อร่อย

     4. การกำหนดตำแหน่งผลิตภัณฑ์ตามลักษณะผู้ใช้ผลิตภัณฑ์ เช่น ห้องอาหารไทยสำหรับลูกค้าชาวต่างชาติที่อยู่ในย่านธุรกิจการค้า

     5. การกำหนดตำแหน่งผลิตภัณฑ์ตามระดับชั้น เช่น ร้านอาหารจานด่วน และ Snack Bar Service

     6. การกำหนดตำแหน่งผลิตภัณฑ์ตามสถาวะการแข่งขัน สร้างจุดเด่นของสินค้าและบริการให้แตกต่างจากคู่แข่งเมื่อได้เปรียบเทียบดูแล้ว

     7. การกำหนดตำแหน่งผลิตภัณฑ์โดยใช้วิธีต่าง ๆ หลายวิธีร่วมดัน ตามตัวอย่างดังนี้

การกำหนดตำแหน่งร้านอาหารตามระดับราคาและคุณภาพ

     ในกรณีแบบนี้เป็นการกำหนดตำแหน่งของร้านอาหาร A, B, C, D ตามระดับราคาและคุณภาพของอาหารและการบริการ และไม่อยู่ในตลาดที่มีการแข่งขันสูง เนื่องจากมีรายละเอียดของสินค้าและบริการอย่างอื่นที่แตกต่างกัน

การกำหนดส่วนผสมทางการตลาดและการกำหนดกลยุทธ์

     สวนผสมทางการตลาด หมายถึง ตัวแปรทางการตลาดที่ธุรกิจสามารถควบคุมได้ เปลี่ยนแปลง ปรับปรุงได้ เพื่อตอบสนองความจำเป็นและความต้องการของตลาดเป้าหมาย และธุรกิจใช้เป็นกลยุทธ์ในการรักษากลุ่มลูกค้าและขยายตลาดต่อไป ส่วนผสมทางการตลาดประกอบด้วยผลิตภัณฑ์ สินค้าและบริการ ราคา ช่องทางการจัดจำหน่าย ผ่านแอพพลิเคชัน M Food 

ผลิตภัณฑ์และบริการ (Product and Service)

     ผลิตภัณฑ์และบริการที่ร้านอาหารจะนำเสนอ เพื่อตอบสนองความต้องการของกลุ่มลูกค้าเป้าหมายประกอบด้วย

     1. ผลิตภัณฑ์หลัก ได้แก่

         1.1 อาหารและเครื่องดื่ม นำเสนออาหารและเครื่องดื่มประเภทต่าง ๆ เช่น อาหารไทย อาหารอีสาน อาหารจีน ญี่ปุ่น และอื่น ๆ เป็นต้น โดยมีรายการอาหารหรือเมนูอาหารและรายการเครื่องดื่มเพื่อให้ลูกค้าเลือกสั่งตามต้องการ การผลิตอาหารและเครื่องดื่มจะเน้นที่รสชาติ คุณภาพและความสะอาดของอาหาร รูปลักษณะของอาหารรวมทั้งภาชนะที่ใช้บรรจุ มีรูปแบบ สี กลิ่น รส ที่น่ารับประทาน จัดรูปแบบให้มีคุณค่า และใช้ภาชนะที่ดีมาบรรจุอาหารเพื่อให้อาหารสวยงามและดูมีราคา ตลอดจนการออกแบบรูปร่างลักษณะของอาหารให้เหมาะกับประเภทของร้านอาหาร เพื่อให้ลูกค้าสามารถถ่ายรูปไปลงโซเซียลมีเดียได้ และนำมาสู่การบอกต่อ

        1.2 ชื่อและภาชนะที่ใช้บรรจุอาหารและเครื่องดื่ม ชื่อของอาหารและเครื่องดื่มจะสร้างความแปลกใหม่และดึงดูดลูกค้าได้มาก ทำให้ลูกค้าอยากลองของใหม่ที่ไม่เคยได้ยินชื่อมาก่อนแล้วสั่งมาทดลองรับประทาน อักทั้งยังสามารถทำให้ลูกค้าจดจำอาหารชนิดนั้น ๆ ได้ และถ้าสร้างความพอใจได้มากก็จะกลับมาใช้บริการอีก หรือบอกต่อ ๆ กันไป ส่วนภาชนินั้นช่วยให้เกิดความรู้สึกในคุณค่าของอาหารและสร้างภาพลักษณ์ให้แก่อาหารเป็นอย่างดี แต่การที่จะใช้ภาชนะที่มีราคาแพงและคุณภาพดีนั้นก็ต้องคำนึงถึงกำลังซื้อของกลุ่มลูกค้าเป้าหมายด้วย เพราะการจัดหาภาชนะก็เป็นต้นทุนอีกอย่างหนึ่งของธุรกิจร้านอาหาร โปรดดูรูปด้านล่างนี้เพื่อเป็นไอเดียในการคิดหาภาชนะที่สามารถนำมาประยุกใช้ได้

 

 

 

 

 

 

        1.3 ประเภทของร้านอหาารและรูปแบบของการให้บริการ นอกจากร้านอาหารจะดำนเนิการขายสินค้าและบริการไปพร้อม ๆ กันแล้ว ยังสามารถให้บริการอื่น ๆ ด้วยตามประเภทของร้านอหาารและรูปแบบของการบริการ เช่น การบริการอาหารแบบตะวันตก การให้บริการอาหารแบบอื่น ๆ การเสิร์ฟ การเก็บและทำความสะอาดโต๊ะที่แตกต่างกัน ตลอดจนการบริการแบบบริการตนเอง

        1.4 บุคลากรผู้ให้บริการ การบริการอาหารและเครื่องดื่มจะมีประสิทธิภาพและสร้างความประทับใจให้แก่ลูกค้าขึ้นอยู่กับความรู้ความสามารถของพนักงานบริการด้วย การบริการเริ่มตั้งแต่การดูแลเรื่องการจอดรถ การกล่าวทักทายต้อนรับ การนำเข้าไปยังโต๊ะอาหาร การแนะนำรายการอาหารและเครื่องดื่ม หรือเมนูแนะนำ การดูแลระหว่างรับประทานอาหาร การคิดราคาอาหารผ่านระบบของ M Food ตลอดจนการดูแลเมื่อลูกค้าออกจากโต๊ะอาหาร พนักงานบริการจึงเป็นบุคคลสำคัญที่ใกล้ชิดและสามารถสร้างความประทับใจให้แก่ลูกค้ามากที่สุด

        1.5 ทำเลที่ตั้ง การตกแต่งสถานที่และบรรยากาศในร้านอาหารเป็นการลงทุนที่มีค่าใช้จ่ายสูงที่สุดเช่นกัน แต่เป็นสิ่งจำเป็นที่สุดของร้านอาหารในการสร้างบรรยากาศที่แตกต่างจากร้านอื่น และทำให้ลูกค้า่ได้รับความสุขและความพอใจในการออกไปรับประทานอาหารนอกบ้าน

     2. ผลิตภัณธ์ควบ หมายถึง การบิรการอื่น ๆ ที่ผู้ประกอบธุรกิจคิดขึ้นเพื่อเสริมผลิตภัณฑ์หลักให้มีจุดเด่น สร้างความแตกต่างในตัวสินค้าและบริการจากคู่แข่งได้อย่างชัดเจน การบริการเหล่านี้ ได้แก่

  • การบริการจอง หรือสำรองโต๊ะอาหารสำหรับลูกค้าที่มาเป็นกลุ่ม สำรองการจัดเลี้ยงเนื่องในโอกาสสำคัญของลูกค้า โดยการจองผ่านแอพพลิเคชัน M Food
  • การจัดเลี้ยงนอกสถานที่
  • การชำระเงินด้วยบัตรเครดิต โดยการชำระผ่านระบบออนไลน์ด้วยแอพพลิเคชัน M Food
  • กำชำระเงินด้วยระบบคิวอาร์โค้ดพร้อมเพย์ผ่านแอพพลิเคชัน M Food
  • คามสะดวกสบายตลอดระยะเวลาในการรับประทานอาหาร
  • การได้พักผ่อน หรือมีดนตรี วงดนตรี
  • และอื่น ๆ
  • คลิกที่นี่เพื่อดูวิธีการใช้งานแอพพลิเคชั่น

ราคา

     ราคาเป็นกลยุทธ์ทางการตลาดที่สำคัญในการจูงใจลูกค้าให้มาใช้บริการ รักษาตลาดลูกค้าไว้ และสร้างกำไรแก่ธุรกิจ การกำหนดราคาขายจะต้องเหมาะสมกับรสชาติและคุณภาพของอาหาร การตั้งราคาสูงหรือต่ำกว่าคู่แข่งไม่ได้หมายความว่าจะสามารถเพิ่มยอดขายและทำกำไรรวมสูงเสมอไป ถ้าไมไ่ด้คำนึงถึงคุณภาพและรสชาติของอาหารและการบริการที่ลูกค้าจะได้รับ

     การกำหนดราคาหรือการตึ้งราคาขายให้เหมาะสม มีสิ่งที่จะต้องพิจารณาดังต่อไปนี้

     1. ตำแหน่งและคุณภาพของสินค้าและบริการ และกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย

     2. วัตถุประสงค์ในการตั้งราคาขายของผู้บริหารหรือผู้ประกอบกิจการ เช่น เพื่อให้กิจการดำเนินต่อไปได้ เพื่อเพิ่มยอดขาย เพื่อให้ได้ผลกำไรสูงที่สุด เพื่อสร้างผลกำไรในช่วงระยะแรกโดยตั้งราคาให้สูงที่สุด หรือเพื่อเป็นผู้นำของสินค้านั้น ๆ และบริการที่มีคุณภาพมากกว่า

     3. ต้นทุนและค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ซึ่งประกอบด้วยต้นทุนคงที่และต้นทุนผันแปร การตั้งราคาขายสินค้าจะต้องครอบคลุมต้นทุนทั้งหมดที่ใช้ในการดำเนินกิจการ ซึ่งผู้ประกอบการควรมีการวิเคราะห์ต้นทุนอย่างละเอียดแล้ว เช่น รับวัตถุดิบเท่าไหร่ นำมาประกอบอาหาร 1 เมนูต้องใช้ไปเท่าไหร่ รวมมูลค่าออกมาได้เท่าไหร่ อาจมีการใช้แอพพลิเคชัน M Food เป็นตัวช่วยในการเพิ่มวัตถุดิบแล้วกำหนดราคาต้นทุนออกมา เพื่อมาแสดงรายงานผลกำไร/ต้นทุน

     4. ปริมาณความต้องการและความนิยมของลูกค้า เป็นสิ่งที่สำคัญไม่แพ้กันที่ต้องนำมากำหนดราคาขาย เช่น ถ้าปริมาณความต้องการสูงจะตั้งราคาขายที่สูงได้ แต่ถ้าความต้องการหรือความนิยมต่ำลง ควรที่จะต้องกำหนดราคาขายให้ต่ำลงหรือลดราคาลงไปด้วย เพื่อให้สามารถรักษายอดขายและระดับความนิยมของลูกค้ายังคงอยู่เหมือนเดิม

     5. คุณภาพของสินค้าและบริการและราคาขายของคู่แข่ง เบื้องต้นนั้นควรกำหนดราคาให้เท่าเทียมกันกับท้องตลาด เนื่องจากเป็นที่รับรู้และอยู่ในความเคยชินของลูกค้าอยู่แล้ว ต้องมีการปรับปรุงและการสร้างความแตกต่างในตัวสินค้าและบริการอย่างชัดเจน จะช่วยให้ร้านอาหารสามารถกำหนดราคาได้สูงกว่าคู่แข่งได้ เช่น ร้านอาหารมีบรรยากาศดี นั่งรับประทานอาหารในห้องแอร์ ไม่ต้องกังวลเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม เช่น ฝุ่น ควัน แมลงวัน เป็นต้น การบริการอาหารที่รวดเร็วและได้รับการต้อนรับจากพนักงานที่ให้บริการที่ดี มีอัธยาศัยไมตรีอันดี สร้างความน่าประทับใจให้กับลูกค้าได้

     6. การเลือกราคาขายขั้นสุดท้าย มีดังนี้

  • นโยบายของร้านอาหาร ต้องการสร้างภาพลักษณ์หรือต้องการเป็นผู้นำของร้านอาหารในประเภทเดียวกันหรือในย่านนั้น ๆ 
  • ผลทางด้านจิตวิทยาของลูกค้า ความชอบและการยอมรับ
  • ผลกระทบต่อส่วนผสมการตลาดอื่น ๆ ได้แก่ สินค้าและบริการ ต้องปรับให้เหมาะสมกับราคา
  • ช่องทางการจำหน่ายต้องพยายามเพิ่มช่องทางและเป็นช่องทางที่สั้น หรือมีระบบ Delivery ของ M Food เข้ามาช่วย การส่งเสริมการตลาดต้องทำอย่างต่อเนื่องเพื่อสร้างภาพลักษณ์ที่สัมผัสได้ 
  • ผลกระทบที่มีต่อผู้ผลิต ผู้จัดส่ง หรือพ่อค้าคนกลางที่เป็นตัวแทนจำหน่ายวัตถุดิบ จะต้องมีการนำมาคำนวนต้นทุนเพื่อกำหนดราคาขายหรือกำหนดการขึ้นราคาตามท้องตลาดของวัตถุดิบต่อไป

ช่องทางการจัดจำหน่าย (Chanel of Distribution)

     ช่องทางการจัดจำหน่าย หมายถึง ช่องทางที่จะกระจายสินค้าจากผู้ผลิตไปสู่ผู้บริโภคได้อย่างรวดเร็วที่สุด โดยอาศัยพ่อค้าคนกลางและตัวแทนจำหน่ายต่าง ๆ แต่การจัดจำหน่ายของร้านอาหารมักจะดำนเนินการโดยตรงไม่ผ่านคนกลาง เพราะลูกค้าจะเข้ามาใช้บริการด้วยตัวเอง จึงทำให้ร้านอาหารให้ความสำคัญกับสถานที่ตั้ง และการเพิ่มสาขาด้วย การเพิ่มสาขาจะเป็นการเปิดช่องทางการจำหน่ายให้ธุรกิจได้มากขึ้นไปดีกด้วย ช่วยสร้างภาพลักษณ์และชื่อเสียงให้มั่นคงขึ้น ทำให้มีความสามารถสำรองวัตถุดิบ มีอำนาจในการต่อรองราคาวัตถุดิบและค่าขนส่ง

     ช่องทางการจัดจำหน่ายมีดังนี้

     1. ร้านอาหาร ส่งตรงถึง ผู้บริโภค

     2. ร้านอาหาร ส่งต่อสาขา ถึงผู้บริโภค

     3. ร้านอาหาร ส่งต่อหุ้นส่วน ถึงผู้บริโภค

     4. ร้านอาหาร ตัวแทนจำหน่าย ถึงผู้บริโภค

     5. ร้านอาหาร ผ่านแอพพลิเคชัน M Food ส่งตรงถึงผู้บริโภค

     การพิจารณาทางเลือกช่องทางในการจัดจำหน่ายใด ๆ นั้น ควรพิจารณาความสามารถและความครอบคลุมของร้านอาหาร หรือเขตพื้นที่ในการจัดจำหน่าย จำนวนสาขา ทำเลที่ตั้ง ควรจะอยู่ใกล้กับกลุ่มเป้าหมายมากที่สุด อยู่ในทำเลที่ดี สะดวกสามารถเข้าถึงได้ง่าย มีที่จอดรอด ใกล้กับศูนย์การค้าหรือสถานะที่สำคัญทางธุรกิจก็จะยิ่งดี ถ้าร้านอาหารมีบริการ Delivery ควรที่จะกำหนดพื้นที่ให้บริการที่สามารถจัดส่งได้ทั่วถึงอย่างชัดเจน โดยใช้แอพพลิเคชัน M Food เป็นตัวกำหนดพื้นที่ให้บริการและให้ลูกค้าสั่งอาหารผ่านแอพพลิเคชัน M Food ได้เลย

 

การส่งเสริมการขาย หรือ Promotion

     การส่งเสริมการขายเป็นการตลาดที่ติดต่อสื่อสารทางธุรกิจระหว่างร้านอาหารและลูกค้า โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้

  • เพิ่มความรู้จักของลูกค้าที่มีต่อร้านอาหาร
  • ช่วยเพิ่มการรับรู้ อคติหรือความนึกคิดของลูกค้าที่มีต่อร้านอาหาร
  • สร้างแรงจูงใจให้ลูกค้าต้องเข้ามาทดลองหรือใช้บริการร้านอาหาร
  • เพิ่มจำนวนลูกค้าให้ได้มากขึ้นกว่าเดิม
  • สร้างฐานลูกค้าประจำที่ต้องมาใช้บริการซ้ำแล้วซ้ำอีก
  • เพิ่มยอดขายของร้านอาหาร โดยเฉพาะอาหารพิเศษหรือเมนูแนะนำในบางช่วงเวลาหรือบางมื้อ
  • เพื่อแนะนำรายการอาหารใหม่ ๆ ให้ลูกค้าได้รู้จัก

     การส่งเสริมการขายของร้านอาหาร มีดังนี้

     1. การโฆษณา เป็นการชักจูงผู้บริโภคมีพฤติกรรมตอบสนองต่อสินค้าและบริการโดยผ่านสื่อต่าง ๆ เช่น โทรทัศ สื่อสิ่งพิมพ์ ป้ายโฆษณา แผ่นพับ ใบปลิว แต่ต้องไม่เป็นการรบกวนพื้นที่ส่วนตัวของลูกค้าด้วย รวมไปถึงสื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ เช่น Facebook, Google, LINE, Instagram เป็นต้น อีกช่องทางหนึ่งที่ขาดไม่ได้คือการโพสบทความผ่าน M Food โดยผ่านหน้าร้านอาหารของคุณ ลองศึกษาคู่มือวิธีใช้โปรแกรม M Food ได้ที่นี่ คลิก หรือเพิ่มช่องทางในการโฆษณาเป็นรูปบบวีดีโอลงใน Youtube ก็จะยิ่งช่วยให้โดยเฉพาะคนไทยเราไม่ชอบการอ่านกันเท่าไหร่นักจะชอบรูปแบบสื่อที่เป็นวีดีโอได้มากว่า การโฆษณานั้นควรดูด้วยว่าอันไหนที่ต้องมีค่าใช้จ่ายซึ่งการที่เราจะลงโฆษณาที่มีค่าใช้จ่ายนั้นจะทำให้ตรงกลุ่มเป้าหมายและครอบคลุมลูกค้าได้มากที่สุด เช่น ลงโฆษณากับ Google Ads, Facebook, LINE, Youtube เหล่านี้เราสามารถกำหนดกลุ่มเป้าหมายได้โดยตรง ส่วนวิธีการลงนั้นหาได้ไม่ยากใน Google เลย หลังจากลงโฆษณาแล้วควรดูด้วยว่าค่าใช้จ่ายที่จ่ายออกไปคุ้มค่าหรือไม่

     2. การประชาสัมพันธ์ เป็นการเผยแพร่ข่าวสารเพื่อสร้างความน่าเชื่อถือหรือภาพลักษณ์ให้กับร้านอาหาร ทำให้ลูกค้ารู้จักเราผ่านสือเหล่านี้ และมีความเข้าใจและทัศนคติที่ดีของลูกค้าต่อร้านอาหาร การประชาสัมพันธ์ที่นิยมกันคือ การเผยแพร่ข่าวสารต่าง ๆ พร้อมกับประชาสัมพันธ์กิจกรรมอื่น ๆ เช่น การสนับสนุนการศึกษา สังคม และกีฬา การจัดนิทัศการอาหาร การเชิญให้ลูกค้าเข้าร่วมชิมอาหาร การจัดสัมมนาเผยแพร่ความรู้ทางด้านอาหารและเครื่องดื่ม และที่ขาดไม่ได้คือการโพสบทความผ่าน M Food ซึ่งร้านอาหารสามารถกำหนดได้ว่าจะโพสบทความประเภทไหน เช่น เกี่ยวกับอาหาร สุขภาพ วัตถุดิบประกอบอาหารที่นำมาปรุงอาหาร และอื่น ๆ เป็นต้น

     3. การส่งเสริมการขาย หรือ Promotion เป็นการจัดกิจกรรมและกลยุทธ์ทางการตลาดที่กระตุ้นให้ลูกค้าเข้ามาซื้อหรือใช้บริการได้เร็วขึ้นและเพิ่มจำนวนลูกค้ามากขึ้น การจัด Promotion แบบออกดังนี้

        3.1 การส่งเสริมการขายกับผู้บริโภค ได้แก่ การให้ส่วนลดแก่ลูกค้าที่เล่นเกมส์หรือปัฏิบัติตามเงื่อนไขของร้านอาหารได้ภายในเวลาที่กำหนด เช่น การกดไลน์ กดแชร์ใน Facebook การเข้ามาใช้บริการได้ครบจำนวนครั้งที่กำหนด เหล่านี้ จากนั้นก็ให้ส่วนลดราคาค่าอาหาร เช่น ลด 10% 15% เป็นต้น การแลกบัตรให้จอดรถได้ฟรีในบริเวณรอบ ๆ สถานที่ต้ง การแถมอาหารหรือเครื่องดื่มฟรี การแจกคูปองส่วนลดต่าง ๆ และอื่น ๆ

        3.2 การส่งเสริมการขายต่อร้านค้าหรือร้านอาหาร ผู้ที่ได้รับสิทธิ์ได้แก่ การให้ส่วนลดพิเศษ หรือสนับสนุนของแถมให้ร้านค้า หรือให้ร้านค้าเข้ารวมโฆษณาโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย จะช่วยกระตุ้นการดำนเนิงานของร้านอาหารนั้นให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

        3.3 การส่งเสริมการขายกับพนักงานขาย เพื่อกระตุ้นให้พนักงานขายเร่งการติดต่อกับลูกค้ามากขึ้น การกระต้นนั้นควรสร้างแรงจูงใจให้พนักงานโดยการให้รางวัลเป็นผลตอบแทน เช่น เป็นโบนัส หรือการเลือนตำแหน่ง หรืออื่น ๆ การส่งเสริมการขายอย่างหนึ่งที่ช่วยให้ลูกค้ารู้จักและจดจำได้เป็นอย่างดี คือ การสร้างคำฮิตติดหู เช่น อร่อยเด็ด, ครัวยกครก, และอื่น ๆ ที่คิดว่าคนฟังแล้วจำและติดหู

การวางแผนการตลาดของร้านอาหาร

     การวางแผนการตลาดของร้านอาหารเป็นการรวบรวมงานและการบริหารแนวความคิดทางการตลาดทั้งหมดของร้านอาหาร การจัดการส่วนผสมและกิจกรรมทางการตลาดโดยละเอียด ตลอดจนการใช้ทรัพยากรและการกำหนดงบประมาณของร้านอาหาร โดยมีแนวทางการวางแผนดังนี้

     1. ระบุประเภทของร้านอาหารและลักษณะของธุรกิจให้ชัดเจน เช่น ภัตตาคาร อาหารญี่ปุ่น อาหารไทยอีสาน อาหารใต้ เป็นต้น

     2. กำหนดเป้าหมาย และวัตถุประสงค์ของร้านอาหารให้อย่างชัดเจน

     3. การวิเคราะห์สถานการณ์ทั่วไปและสถานการณ์ทางการตลาด

        3.1 การวิเคราะห์ปัจจัยภายนอก ได้แก่ เศษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม การเมือง และเทคโนโลยี อาจจมีการเข้าร่วมกลุ่มสังคมโซลเซียลเพื่อสังเกตการณ์

        3.2 โครงสร้างของอุตสาหกรรมในท้องถิ่น

        3.3 การวิเคราะห์ จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และข้อจำกัดของธุรกิจร้านอาหารของเรา

        3.4 การวิเคราะห์ จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และข้อจำกัดของธุรกิจของคู่แข่ง

        3.5 การวิเคราะห์ ความต้องการ แนวโน้ม เทรนที่กำลังมา และศักยภาพของตลาด

     4. ชื่อของร้านอาหาร

     5. การกำหนดตำแหน่งของร้านอาหาร และกำหนดตลาดเป้าหมาย

     6. การกำหนดนโยบายของร้านอาหารและจุดประสงค์ของตลาดให้ชัดเจน

     7. ระบุส่วนผสมทางการตลาด หรือ Marketing Mix และกลยุทธิ์ต่าง ๆ เช่น

        7.1 ผลิตภัณฑ์ หรือสินค้าและบริการของร้านอาหาร

        7.2 การกำหนดราคาขายให้เหมาะสม

        7.3 สถานทำเลที่ตั้ง และช่องทางในการจัดจำหน่าย

        7.4 การส่งเสริมการตลาดและการขายอย่างต่อเนื่อง

     8. แผนการปฏิบัติการ โดยระบุกิจกรรมทางการตลาดที่จะทำโดยละเอียด

     9. การตรวจสอบแผนงานและประเมิณผล เพื่อตรวจสอบความพึงพอใจของลูกค้า

     วัตถุประสงค์ของการดำนเนิงานในการตลาดของร้านอาหาร ก็เพื่อจัดการบริการอาหารและเครื่องดื่มให้สามารถตอบสนองความต้องการและสร้างความพึงพอใจให้แก่ลูฏค้าได้อย่างคุ้มค่ามากที่สุด และอยู่ในระดับราคาที่ลูกค้ายอมรับได้ เหมาะสมที่สุด มีความพร้อมและเต็มใจที่จะจ่ายเงินออกไปเพื่อให้ได้มาซึ่งสินค้าและบริการที่คุ้มค่า ประกอบกับการบริหารงานการให้บริการและสภาพแวดล้อมที่ดีด้วย จะทำให้กิจการร้านอาหารประสบความสำเร็จในที่สุด

 

อ่านบทความก่อนหน้านี้

- การบริหารจัดการค่าใช้จ่ายในร้านอาหาร คลิกที่นี่

- การบริการอาหารและเครื่องดื่ม ของร้านอาหาร คลิกที่นี่

 


ป้ายกำกับ : การตลาดร้านอาหาร โปรโมทร้านอาหาร ร้านอาหาร
หมวดหมู่ ขั้นตอนการใช้งาน ข่าวสาร ประชาสัมพันธ์ ท่องเที่ยว บ้านและสวน มาตรฐาน ร้านอาหาร รีวิวร้านอาหาร วัตถุดิบประกอบอาหาร สุขภาพ อาหาร เกษตร เครื่องดื่ม โปรแกรมร้านอาหาร โปรโมชั่น ข่าวสาร ประชาสัมพันธ์ทั้งหมด
วันที่สร้าง : 24/05/2020 08:21:01
โพสโดย : M Food
สร้างสรรค์บทความดี ๆ ด้วยตัวคุณเอง คลิกที่นี่ เพื่อเขียนบทความใหม่ ๆ ให้เพื่อน ๆ ได้อ่านกัน
อ่านวิธีลงบทความของคุณได้คลิกที่นี่

บทความโปรแกรมร้านอาหารที่คุณอาจสนใจ

ข่าวสารอาหาร

อ่านบทความทั้งหมด

ร้านอาหารที่คุณอาจสนใจ

ดูทั้งหมด

© 2024 M Food Service. โปรแกรมร้านอาหาร สำหรับบริการอาหารและเครื่องดื่ม | Developed by m2010thai.com