ทำไมคนที่ผลิตอาหารให้คนส่วนใหญ่ในโลกรับประทานถึงเป็นคนที่อดอยากหิวโหยที่สุด
สหประชาชาติระบุว่า แต่ละปีมีผู้คนมากกว่า 820 ล้านคนทั่วโลก เผชิญกับความอดอยากหิวโหย แต่ขณะเดียวกันก็มีคนที่น้ำหนักเกินหรือเป็นโรคอ้วนเพิ่มขึ้น สถิติขององค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ ระบุว่า อาหารที่ถูกผลิตขึ้นบนโลกเพียงพอต่อการเลี้ยงดูคน 10,000 ล้านคน แล้วทำไมจึงเกิดปัญหานี้ขึ้น
ลองจินตนาการว่าคุณคือผู้ผลิตอาหาร แต่ต้องเข้านอนในสภาพท้องกิ่ว นี่คือความย้อนแย้ง
คนงานในภาคเกษตรมีสัดส่วน 1 ใน 3 ของแรงงานทั้งโลก เกษตรกรในชนบทผลิตอาหาร 80% ที่บริโภคกันในประเทศกำลังพัฒนา แต่ดูเหมือนว่าคนกลุ่มนี้กลับเป็นผู้ที่อดอยากหิวโหยที่สุด
ความยากจนนำไปสู่ความอดอยาก
เกษตรกรบางคน ไม่สามารถแม้แต่จะซื้ออาหารที่เป็นผลิตผลของตัวเอง โดยในประเทศกำลังพัฒนาค่าอาหารอาจสูงถึง 50% ของรายได้
สหประชาชาติระบุว่า คนทั่วโลกราว 1 ใน 9 คน ไม่มีอาหารกินเพียงพอที่จะทำให้มีชีวิตอยู่อย่างมีสุขภาพดีและกระฉับกระเฉง
ผู้คนจำนวนมากมีรายได้ในการดำรงชีพต่ำกว่าเส้นแบ่งความยากจนนานาชาติ ซึ่งไม่ถึง 57 บาทต่อคนต่อวัน แต่ความหิวโหยและความยากจนไม่ได้มีเพียงในประเทศกำลังพัฒนาเท่านั้น
ในปี 2018 ชาวอเมริกันมากกว่า 37 ล้านคน ไม่มีเงินซื้ออาหารกินเพียงพอ
มีอาหารเหลือทิ้งมากขึ้น มีความอดอยากมากขึ้น
สหประชาชาติระบุว่า โลกเรามีอาหารเพียงพอเลี้ยงดูคนถึง 1 หมื่นล้านคน แล้วเกิดอะไรขึ้นกับอาหารเหล่านั้น อาหารที่ผลิตได้ในแต่ละปีราว 1 ใน 3 เน่าเสียหรือถูกนำไปทิ้ง ส่วนใหญ่เป็นอาหารเหลือจากครัวเรือน อาหารเสียเพราะเก็บรักษาและขนส่งไม่ดีพอ อาหารเหลือทิ้งมีมูลค่าราว 30 ล้านล้านบาท
สหประชาชาติและองค์การอาหารและเกษตรระบุว่า หากลดปริมาณอาหารเน่าเสียหรือเหลือทิ้ง ลงได้ 25% ก็จะพอเลี้ยงดูผู้คนที่อดอยากหิวโหยได้อีก 870 ล้านคน
ผู้หญิงคือผู้ที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด
ความเท่าเทียมทางเพศ เป็นหัวใจสำคัญในการกำจัดความอดอยากหิวโหยในทุก ๆ ภูมิภาค ผู้หญิงมีโอกาสตกอยู่ในสภาพอดอยากมากกว่าชาย เกษตรกรสตรีมักได้ค่าแรงน้อยกว่า แต่ต้องทำงานในสภาพที่ย่ำแย่กว่า
สหประชาชาติระบุว่า จะมีคนอดอยากในโลกลดลง 150 ล้านคน ถ้าเกษตรกรสตรีเข้าถึงทรัพยากรต่าง ๆ ได้เท่าเทียมกับผู้ชาย
และต้องไม่ลืมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
เรื่องนี้กำลังเป็นสาเหตุสำคัญของความอดอยากทั่วโลก อุณหภูมิที่สูงขึ้นและสภาพอากาศที่เลวร้ายส่งผลกระทบต่อการทำเกษตร เกษตรกรจำนวนมากต้องเผชิญสภาพผลผลิตตกต่ำและคุณภาพด้อยลง
สหประชาชาติ ตั้งเป้าทำให้ 'ความอดอยากเป็นศูนย์' ภายในปี 2030 แต่ผู้เชี่ยวชาญเตือนว่า การจะไปถึงเป้าหมายไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะตลอดสามปีมานี้ จำนวนคนอดอยากยังเพิ่มมากขึ้น
ที่มา BBC Thai: https://www.bbc.com/thai/
ป้ายกำกับ : เกษตรกร สหประชาชาติ อาหาร
หมวดหมู่ ขั้นตอนการใช้งาน ข่าวสาร ประชาสัมพันธ์ ท่องเที่ยว บ้านและสวน มาตรฐาน ร้านอาหาร รีวิวร้านอาหาร วัตถุดิบประกอบอาหาร สุขภาพ อาหาร เกษตร เครื่องดื่ม โปรแกรมร้านอาหาร โปรโมชั่น ข่าวสาร ประชาสัมพันธ์ทั้งหมด
โพสโดย : M Food
อ่านวิธีลงบทความของคุณได้คลิกที่นี่
บทความข่าวสาร ประชาสัมพันธ์ที่คุณอาจสนใจ
#COVID-19 Social Distance 8 วิธีหนีโควิด-19
31/03/2020 08:07:18
สถานการณ์โควิด19 COVID-19 (ไวรัสโคโรนา) ประจำวันที่ 22 มีนาคม 2563
22/03/2020 16:12:11
สถานการณ์ COVID-19 (ไวรัสโคโรนา) ประจำวันที่ 20 มีนาคม 2563
20/03/2020 13:16:43
สถานการณ์ COVID-19 (ไวรัสโคโรนา) ประจำวันที่ 1 มีนาคม 2563
01/03/2020 12:35:37
ร้านอาหารที่คุณอาจสนใจ
Soulmate Coffee & Cafe' Suphanburi
กาแฟสดเมล็ดอาราบริก้าเกรดพรีเมียม พร้อมเมนูขนมหวานน่าทาน ให้เลือกมากมาย
ครัวพี่นันท์
ข้าวแกงปักษ์ใต้ บินไกลมาจาก พัทลุง รับทำ....... อาหารบุฟเฟ่ต์ ชาววัง อาหารจัดเบรค จัดประชุม สังสรรค์เพื่อนเก่า เพื่อนร่วมงาน งานทำบุญขึ้นบ้านใหม่ งานบวชลูก งานบวชหลาน งานปาร์ตี้รวมญาติสนิท มิตรสหาย โทร.หาเรา โทร. 082-2618091 หายห่วง เรื่องอาหารรับรองแขก